นักวิชาการ เปิดข้อเท็จจริง น้ำท่วม นิคมฯ บางปู
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เปิดสาเหตุ น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปู ระบุชัด ระบบป้องกันน้ำจากภายนอกเข้ามาท่วมสูงสุดได้ถึง 70 ปี
สถานการณ์น้ำท่วมรอบนิคมอุตสาหกรรมบางปู เกิดขึ้นหลังจากฝนตกลงมาอย่างหนักอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ทำให้ถนนหลายสายและหมู่บ้านมีปริมาณน้ำท่วมขังสูง โดยเฉพาะถนนสุขุมวิท ถนนศรีนครินทร์ ถนนพุทธรักษา รวมทั้งถนนเทพารักษ์ เอ่อท่วมล้น เนื่องจากระบายน้ำไม่ทัน
นายสนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ในฐานะอดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบายและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับข้อมูลในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ของนิคมอุตสาหกรรมบางปู ว่า ระบบป้องกันน้ำท่วมของนิคมบางปูในรายงานอีไอเอกับสถานการณ์จริง
1. นิคมอุตสาหกรรมบางปูเกิดน้ำท่วมหนัก ได้เร่งสูบระบายน้ำต่อเนื่องตั้งแต่เวลา 02.00 น.ของวันที่ 30 สิงหาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน ลงในคลองโดยรอบเพื่อลงสู่ทะเลต่อไป ซึ่งน้ำเริ่มจะเต็มคลองแล้วประกอบกับน้ำทะเลหนุนทำให้ระดับน้ำลดลงได้ช้า
2. ข้อมูลในรายงานอีไอเอของนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการโครง การปรับปรุงระบบป้องกันน้ำท่วมซึ่งเสนอต่อสผ.ในปี 2557ระบุว่าจะใช้งบประ มาณรวม 970ล้านบาทในการป้องกันน้ำท่วมด้วยการสร้างระบบเขื่อนเป็นคันดินสูง+2.20 ม. รทก.และ +2.25ม.รทก.ล้อมรอบพื้นที่ของโครงการขนาด 5472ไร่ (มีโรงงาน 420แห่ง) โดยทำเป็นคันดินยาวประมาณ17.10กม.บางส่วนมีลักษณะเป็นกำแพงเสริมคอนกรีตบนคันดินเดิมด้วย สามารถป้องกันน้ำจากภายนอกเข้ามาท่วมสูงสุดได้ในรอบ 70 ปี
3. ในรายงานอีไอเอระบุว่าระบบระบายน้ำฝนภายในนิคมจะแยกออกจากระบบรวบ รวมน้ำเสีย โดยมีสถานีสูบน้ำลงสู่คลองโดยรอบ14 สถานี คิดเป็นปริมาณน้ำรวม 78,432ลบ.ม./ชม. และมีบ่อหน่วงน้ำ11 บ่อ มีความจุกักน้ำฝนได้รวม83,900 ลบ.ม.และมีลำรางระบายน้ำฝนขนาด 274,076 ลบ.ม.ภายในนิคมซึ่งสามารถชะลอน้ำฝนเก็บไว้ในโครงการได้อีก
สรุปได้ว่าระบบบ่อหน่วงน้ำฝนในนิคมอุตสาหกรรมบางปูจะสามารถรองรับน้ำฝนได้อย่างเพียงพอซึ่งคิดในกรณี worst case แล้ว กล่าวคือคิดปริมาณน้ำจากกรณีที่ฝนตกหนักในรอบ 70 ปี ดังนั้น นิคมบางปูจึงเสนอไว้ในรายงานว่าในช่วงฝนตกหนักจะไม่มีการระบายน้ำออกนอกนิคมฯ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ชุมชนโดยรอบ
4. แต่ในข้อเท็จจริงแล้วฝนที่ตกลงมาในวันที่ 29 สค.64 ทำให้นิคมอุตสาหกรรมบางปูเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก บ่อหน่วงน้ำเก็บน้ำไว้ได้ไม่เพียงพอ เขื่อนคันดินโดยรอบนิคมฯ กลายเป็นกำแพงกันไม่ให้น้ำไหลออกไปข้างนอก ลำคลองหลังนิคมถูกถมเป็นถนน เป็นต้น จนเกิดน้ำท่วมในนิคมสร้างความเสียหายแก่โรงงานที่ตั้งอยู่ภายในอย่างหนัก จนต้องทำการสูบน้ำลงคลองโดยรอบตั้งแต่ตี 2 ของคืนที่ผ่านทำให้น้ำล้นตลิ่งท่วมชุมชนมากขึ้น