วิธีสังเกตอาการ เมื่อรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน
กรมควบคุมโรคเปิดข้อมูลวิธีสังเกตอาการ เมื่อรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน
วันนี้ (7ก.ค.64) เพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการ เมื่อรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน โดยระบุว่า วิธีสังเกตอาการ เมื่อรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน
จากเหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก จ.สมุทรปราการ ซึ่งมีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ส่งผลให้มีไอระเหยของสารสไตรีนโมโนเมอร์ และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) กระจายออกไปโดยรอบในรัศมีประมาณ 5 กิโลเมตร ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
ล่าสุด กรมควบคุมโรค แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ที่เกิดเหตุ โปรดสังเกตอาการพิษแบบเฉียบพลันที่อาจเกิดขึ้น ต่อระบบอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น
-ระบบทางเดินหายใจ : ไอและมีเสมหะมากขึ้น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบเหนื่อยมากขึ้น
- ระบบทางตา : แสบเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล มีอาการดวงตาแพ้แสง
- ระบบผิวหนัง : ระคายเคือง มีผื่น หรือปวดมากขึ้น
- ระบบทางเดินอาหาร : ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
- ระบบประสาท : เวียนศีรษะ ซึมลง ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ชัก
ซึ่งหากมีอาการดังกล่าว ขอให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยด่วน