เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

TNN ONLINE

สังคม

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

“เอนก” เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย ชี้ต้องทำให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเข้าไปสู่ประชาคมโลกที่พัฒนาแล้ว ด้าน GISTDA จัดทำสมุดปกขาวและแผนที่นำทางแห่งชาติครั้งแรกของประเทศ เตือนสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการและการสัมมนานานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2564 (The 1st International Symposium on Earth Space System Frontier Research Thailand 2021) ในรูปแบบออนไลน์ จัดโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บทบาทของ อว. ในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อสร้างโอกาสให้เศรษฐกิจไทย” ว่า อว.เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยขั้นแนวหน้าด้านระบบโลกและอวกาศ (Earth Space System: ESS) งานนี้เป็นงานที่มีภาพรวมใหญ่มาก การศึกษาเรื่องราวด้านนี้มีความยากพอสมควร “โลก” คือ ดิน “อวกาศ” คือ ฟ้า ภาษาจีนตัว “อ๋อง” ที่แปลว่าผู้ปกครอง มี 3 ขีด ขีดที่ 1 คือ ฟ้า ขีดที่ 2 คือ คน ขีดที่ 3 คือ ดินหรือโลก แล้วยังมีขีดอีกตัวหนึ่งเชื่อมฟ้า เชื่อมคน เชื่อมดิน ไว้ด้วยกัน นั่นแปลว่า อารยธรรมตั้งแต่โบราณมาเห็นเรื่องดิน เรื่องฟ้าสำคัญ คนโบราณดูฟ้าทุกวัน ดูดาวทุกวัน และนำมาสร้างเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยโหราศาสตร์ เพื่อที่จะพยากรณ์ คาดการณ์ วางแผนในเรื่องที่เกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับดิน เกี่ยวกับอาณาเขตที่ปกครอง โดยมีคนเป็นตัวเชื่อมฟ้าเชื่อมดิน

รมว.อว.กล่าวต่ออีกว่า งาน ESS จึงเป็นการเชื่อมทั้ง 3 สิ่งเข้าด้วยกัน และ GISTDA ต้องทำเรื่องนี้ให้ดีเพื่อเป็นเกียรติภูมิของประเทศ สิ่งที่ค้นพบทำวิจัยกันจะกลายเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติทั้งสิ้น เราต้องทำให้โลกเห็นว่า ไทยมีศักยภาพ มีหมุดหมายที่จะเข้าไปสู่ประชาคมโลกที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ESS ยังเป็นส่วนหนึ่งของ BCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติที่หลายกระทรวงร่วมมือกันเพื่อให้เป็นหนึ่งในโมเดลการพัฒนาโลก เพราะฉะนั้น จิสด้าและพันธมิตรทั้ง 7 มหาวิทยาลัย จะต้องมุ่งเน้นให้เกิดความตระหนักรู้ ตื่นตัวในกลุ่ม นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนสร้างโอกาส การเข้าถึง การรับรู้ การให้ทุนการศึกษาแก่กลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาส เด็กชายขอบ เด็กชาวเขา เด็กพื้นที่ชายแดน เด็ก 3 จังหวัดภาคใต้ เพราะหลายต่อหลายครั้ง “ช้างเผือก” เกิดจากเด็กในกลุ่มนี้

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

ด้าน ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง GISTDA กับประชาคมวิจัยด้านระบบโลกและอวกาศของประเทศไทย ที่มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกและจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของหลากหลายหน่วยงานรัฐมากกว่า 10 หน่วยงาน และสถาบันอุดมศึกษามากกว่า 15 มหาวิทยาลัย โดยมี GISTDA ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักในการรวบรวมการจัดทำสมุดปกขาว (White Paper) และแผนที่นำทางแห่งชาติ (National Roadmap) ของ ESS ประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมี “แผนการดำเนินการวิจัยพัฒนาสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีนวัตกรรม” ที่จะทำให้เข้าใจถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ที่มีต่อโลกมนุษย์ และประเทศไทย ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับเวลา การเกิดพิบัติภัยในรูปแบบต่างๆ ตามบริบทโลกและสภาพภูมิประเทศ รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการรอดพ้นวิกฤตต่างๆ ในอนาคต โดยในช่วงของการสัมมนามีการพูดถึงบทบาทสำคัญของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัยขั้นแนวหน้า (frontier research) รวมถึงมุมมองจากมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับความท้าทายในการวิจัยฯ ในยุคของ Disruptive Technology และการเตรียมรับมือ ทั้งนี้ เรามองว่าการขับเคลื่อนงานวิจัยขั้นแนวหน้าจะเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็น Space Economy ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญของการทำ roadmap ของประเทศไทยที่จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลลัพธ์ ผ่านการสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างโอกาสให้เศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคตได้

ด้าน รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และการทำงานวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศ และยังเป็น 1 ใน 7 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศในการเป็นภาคีวิจัยโลกอนาคตแห่งประเทศไทย (Future Earth Thailand Consortium) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยามหิดล โดยจะมุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรและงานวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ธรรมชาติ และภัยพิบัติ

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

เปิดประชุมนานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย

ข่าวแนะนำ