นิด้าโพลเผยนร.ผวา “ห้องน้ำโรงเรียน” พื้นที่เสี่ยงถูกคุกคาม
นิด้าโพลเผยผลสำรวจนร.มองห้องน้ำโรงเรียนเป็นพื้นที่เสี่ยงถูกคุกคามทางเพศมากที่สุด
วันนี้ ( 30 พ.ค. 64 )ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การคุกคามทางเพศในสถานศึกษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20-26 พฤษภาคม 2564 จากนักเรียน นักศึกษา ที่มีอายุ 15 - 25 ปี กระจายทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,308 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในสถานศึกษา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเสี่ยงจากการถูกคุกคามทางเพศในโรงเรียน หรือ ระหว่างการเดินทางไป - กลับโรงเรียนของนักเรียน พบว่า ร้อยละ 13.00 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยงเลย ร้อยละ 15.75 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเสี่ยง ร้อยละ 55.12 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเสี่ยง และร้อยละ 16.13 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก
ด้านระดับความเสี่ยงของสถานที่ในโรงเรียน ดังต่อไปนี้
1.ห้องน้ำ พบว่า ร้อยละ 05 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 23.24 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 29.89 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 41.82 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
2. ห้องเก็บของที่อยู่ในบริเวณเปลี่ยว พบว่า ร้อยละ 59 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 15.75 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 18.50 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 62.16 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
3. ห้องเรียน พบว่า ร้อยละ 44 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 51.91 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย – น้อยที่สุด ร้อยละ 22.78 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 9.87 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
4. ห้องที่ไม่ได้ใช้แต่ไม่ปิดล็อค พบว่า ร้อยละ 67 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 21.94 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 25.15 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 48.24 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
5. โรงยิม พบว่า ร้อยละ 45 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 46.33 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 23.55 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 15.67 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
6. บริเวณบันได พบว่า ร้อยละ 51 ระบุว่า ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 53.59 ระบุว่า มีความเสี่ยงน้อย - น้อยที่สุด ร้อยละ 17.58 ระบุว่า มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 11.32 ระบุว่า มีความเสี่ยงมาก - มากที่สุด
สำหรับสิ่งที่โรงเรียนควรปรับปรุงเพื่อสร้างความปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.24 ระบุว่า ครูและบุคลากรในโรงเรียนต้องคอยสอดส่องดูแลอย่างเคร่งครัด รองลงมา ร้อยละ 33.56 ระบุว่า อบรมนักเรียนให้รู้จักดูแลตัวเองและเพื่อน ให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ ร้อยละ 29.51 ระบุว่า อบรมบุคลากรโรงเรียนเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการคุกคามทางเพศ ร้อยละ 25.61 ระบุว่า กำหนดมาตรการ กฎระเบียบ และบังคับใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ ร้อยละ 21.94 ระบุว่า ปรับปรุงอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศ และร้อยละ 11.01 ระบุว่า โรงเรียนปลอดภัยดีอยู่แล้ว
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงวิธีการจัดการในโรงเรียนเมื่อเกิดเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ ดังต่อไปนี้
1.กระบวนการสอบสวนและลงโทษ พบว่า ร้อยละ 73 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 20.72 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 49.39 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 23.09 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
2. ความเป็นธรรมในการตัดสิน พบว่า ร้อยละ 81 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 19.80 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 49.01 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 24.46 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
3. วิธีการลงโทษผู้กระทำผิด พบว่า ร้อยละ 95 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 21.86 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 44.65 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 24.85 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
4. การดูแลสภาพจิตใจผู้ถูกกระทำ พบว่า ร้อยละ 48 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 21.79 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 43.88 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 22.86 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ