TNN สศช.ประกาศจีดีพี1Q64 ติดลบ 2.6% หวังกระจายวัคซีนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

TNN

สังคม

สศช.ประกาศจีดีพี1Q64 ติดลบ 2.6% หวังกระจายวัคซีนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

สศช.ประกาศจีดีพี1Q64 ติดลบ 2.6%  หวังกระจายวัคซีนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

สศช.ประกาศจีดีพีไตรมาส 1/64 หดตัว 2.6% ชี้การลงทุน-บริโภคภายในประเทศ-ส่งออกดีขึ้น พร้อมหั่นเป้าจีดีพีเหลือ 1.5-2.5% จากผลกระทบโควิดรอบใหม่ หวังรัฐกระจายวัคซีน-ปล่อยสินเชื่อพยุงเศรษฐกิจ

 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสศช.  เปิดเผยว่า  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 1/2564 ลดลง  2.6 % ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 4.2 % ในไตรมาสที่ 4/2563 โดยการผลิตในภาคเกษตรขยายตัวต่อเนื่อง ภาคนอกเกษตรปรับตัวดีขึ้น การลงทุนในประเทศเร่งตัวขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลขยายตัวต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าปรับตัวดีขึ้น ส่วนรายรับจากบริการต่างประเทศยังคงลดลง


สำหรับการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่เริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2563 ส่งผลกระทบให้การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนกลับมาลดลง อีกครั้งด้านการผลิต ภาคเกษตรขยายตัว 1.9 % ตามผลผลิตพืชสำคัญ เช่น ข้าวเปลือก ผัก ผลไม้ ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ภาคนอกเกษตร ลดลง 3 %  ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง  4.7 % ในไตรมาสที่ 4/2563 เป็นผลจากการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว  0.7 % ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ


ภาคบริการลดลง  4.2 % ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง  5.9%  ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสาขาที่มีการขยายตัว เช่น สาขาการก่อสร้าง สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร สาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย และสาขาที่เริ่มมีการฟื้นตัว เช่น สาขาการขายส่งและการขายปลีกฯ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอก

ชนลดลง 0.5 % ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล และการลงทุน ขยายตัว 2.1 %  และ 7.3 %  ตามลำดับ การนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัว 1.7 %  การส่งออกสินค้าและบริการลดลง  10.5 %   ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2564 ขยายตัว  0.2  %  (QoQ SA) 


เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว  1.5 – 2.5 % จากเดิม 2.5-3.5 % รับการระบาดโควิดระลอกใหม่  ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลง  6.1%  ในปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ และ (3) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ.จะขยายตัว  10.3 %  ขณะที่การอุปโภคบริโภค  1.6  % และ การลงทุนภาคเอกชน  4.3 %   ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัว  9.3 % อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง  1.0 – 2.0  % และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.7 % ของ GDP  ขณะเดียวกันได้ปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีเหลือ 5 แสนคน  


สำหรับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศเพื่อให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงและอยู่ในวงจำกัดโดยเร็ว และการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงในระลอกใหม่ โดยมุ่งเน้น การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรค และป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการยกระดับกระ

บวนการเฝ้าระวังสอบสวนโรคเชิงรุก โดยเฉพาะการเร่งรัดการตรวจเชิงรุกในเขตพื้นที่หรือชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงในกรุงเทพฯ หรือเขตเมืองต่าง ๆ ที่ยังคงเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดรุน

แรง รวมทั้งการดูแลและควบคุมกิจกรรมและกิจการบางประเภทที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการระบาดของโรคอย่างเข้มงวด และการป้องกันการนำเข้าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์เพิ่มเติมโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้ที่เดินทางข้ามชายแดน 


การเร่งรัดจัดหาและกระจายวัคซีนให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอเพื่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่  การพัฒนาศักยภาพของระบบสาธารณสุขให้เพียงพอต่อการรองรับการแพร่ระบาดในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและ  การเร่งประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนให้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการเข้ารับวัคซีน รวมถึงการรณ

รงค์เกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติและดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการกลับมาแพร่ระบาดระลอกใหม่และลดโอกาสการกลับมาติดเชื้อซ้ำภายหลังได้รับวัคซีนแล้ว 


(2) การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดและมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบด้วย  การเร่งรัดติด ตามมาตรการต่าง ๆทั้งด้านการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนมาตรการเดิมให้ตอบสนอง ภาคเศรษฐกิจและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด 


การพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคแรงงานผ่านมาตรการรักษาระดับการจ้างงานให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการพิจาร ณามาตรการ สร้างงานใหม่และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน และการพิจารณาดำเนินมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไปภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง 


(3) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า เพื่อสร้างรายได้จากต่างประเทศและสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง  (4) การส่งเสริม การลงทุนภาคเอกชน โดย การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ในช่วงปี 2561-2563 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศ


 (5) การรักษาแรงขับเคลื่อน การขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายประจำปี 2564 ไม่น้อยกว่า 92.5 %  แผนงานและโครงการตามพระราชกำหนดฯ เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ให้มีการเบิกจ่ายสะสม ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 ไม่น้อยกว่า  80 % ของวงเงินกู้


 (6) การเตรียม ความพร้อมสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ทันทีที่มีการกระจายวัคซีนทั้งในและต่างประเทศที่เป็นแหล่งต้นทางของนักท่องเที่ยวครอบคลุมเป็นวงกว้างและเพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ โดยควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาจัดสรรและกระจายวัคซีนให้แก่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวนำร่อง ในจำนวนที่เพียงพอควบคู่ไปกับการพิจารณาเตรียมความพร้อมของพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งในด้านระบบรองรับการเฝ้าระวังสอบสวนโรค การปรับปรุงที่พักและแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านสาธารณสุขและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเตรียมระบบสนับสนุนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการเดินทาง และการปรับปรุงการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ 


(7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  อย่างไรก็ตาม คาดว่าการะบาดระลอก 3 จะควบคุมได้ในเดือนมิ.ย.นี้  





ข่าวแนะนำ