TNN เปรียบเทียบอันตราย "PM 2.5" ร้ายกว่า "PM 10" หลายเท่า!

TNN

สังคม

เปรียบเทียบอันตราย "PM 2.5" ร้ายกว่า "PM 10" หลายเท่า!

 เปรียบเทียบอันตราย PM 2.5 ร้ายกว่า PM 10 หลายเท่า!

เปรียบเทียบอันตราย "ฝุ่น PM 2.5" อันตรายกว่า "PM 10" หลายเท่า สามารถลงลึกเข้าไปในเนื้อปอด

ฝุ่นPM 2.5 เป็นส่วนประกอบประมาณ ร้อยละ 50–70 ของฝุ่น PM 10 และเนื่องจาก PM 2.5 มีขนาดที่เล็กมากประมาณ 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ 


โดยแหล่งกำเนิด PM 2.5 มาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่นเครื่องยนต์การหลอมโลหะ การเผาป่า ไร่นา เผาฟืนเผาถ่าน ขณะที่ PM 10 มีแหล่งกำเนิดจากการก่อสร้าง บดโม่หินทราย การขัดสี และจากขนาดที่เล็กของฝุ่น PM 2.5 ทำให้ลอยค้างในบรรยากาศได้นานหลายวันถึงหลายสัปดาห์ และถูกลมพัดให้ข้ามไปในเขตพื้นที่อื่นๆที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยกระจายได้ไกลถึง 161 กิโลเมตร จึง ถือเป็นมลพิษข้ามพรมแดนและปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศได้นาน

 เปรียบเทียบอันตราย PM 2.5 ร้ายกว่า PM 10 หลายเท่า!


ส่วนฝุ่น PM 10 มีขนาด10 ไมครอน ลอยในอากาศได้เพียง 2 - 3นาทีถึงชั่วโมง โดยกระจายได้ไกล 90 เมตร ถึง 48 กิโลเมตร


หากดูองค์ประกอบ : PM 2.5 มีเขม่า โลหะหนัก สารอินทรีย์ สารก่อมะเร็ง ขณะที่  PM 10 มีองค์ประกอบ ฝุ่นหินดินทราย เกสรดอกไม้ เชื้อรา

 เปรียบเทียบอันตราย PM 2.5 ร้ายกว่า PM 10 หลายเท่า!


PM2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด และกระแสเลือดโดยตรง ส่งผลอันตรายต่อกระบวนการทํางานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง  


ด้าน UNICEF ชี้ภัยร้ายจากฝุ่นพิษ PM2.5 ยังมีผลต่อสมองของเด็กและก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆได้มากมาย เช่นโรคหลอดเลือดตีบตัน โรคปอดบวม ภาวะหัวใจขาดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมะเร็งปอด ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบความอันตรายของ PM 10 และ PM 2.5 แล้ว PM 2.5 จึงอันตรายกว่าเพราะสามารถลงลึกเข้าไปในเนื้อปอด และแหล่งที่มาของ PM 10 และ PM 2.5 จะแตกต่างกัน จึงมีส่วนประกอบทางเคมีที่ต่างกัน PM 2.5 จึงอันตราย กว่า 3.75 เท่าของ PM10

 เปรียบเทียบอันตราย PM 2.5 ร้ายกว่า PM 10 หลายเท่า!


รายงานจากกลุ่มอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวะอนามัย สำนักงานสาธรณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ระบุจำนวนผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 5 มีนาคม พบผู้ป่วยกลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคหัวใจ หลอดเลือด กลุ่มตาอักเสบ กลุ่มผิวหนังอักเสบ และ กลุ่มอื่นๆ รวม 9,234 คน 


ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือรายงานว่า ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงประมาณ 1 สัปดาห์ข้างหน้า สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหาหมอกควันของภาคแหนือ ส่วนคลื่นกระแสลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านเป็นลักษณะของลมอ่อนที่จะช่วยยกอากาศขึ้นได้บ้างในช่วงกลางวันและช่วงบ่ายเท่านั้นแต่ยังกดทับอยู่ในระดับความสูงที่ประมาณ 1,000 เมตรเท่านั้น แต่ไม่ทำให้หมอกควันสลายตัวลงหรือลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศไปได้ ประกอบกับช่วงเช้า และตอนกลางคืนยังมีอากาศหนาวเย็นที่จะกดทับสภาพอากาศเหนือเมืองเชียงใหม่และภาคเหนือยิ่งทำให้ฝุ่นควันสะสมตัวหนาแน่นมากขึ้น ไม่สามาถลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้


 เปรียบเทียบอันตราย PM 2.5 ร้ายกว่า PM 10 หลายเท่า!


ข่าวแนะนำ