TNN "ปาร์ตี้หนัก - นอนน้อย" หลังปีใหม่ เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพุ่ง แนะ 5 วิธีปรับตัว

TNN

สังคม

"ปาร์ตี้หนัก - นอนน้อย" หลังปีใหม่ เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพุ่ง แนะ 5 วิธีปรับตัว

ปาร์ตี้หนัก - นอนน้อย หลังปีใหม่ เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพุ่ง แนะ 5 วิธีปรับตัว

ปาร์ตี้หนัก พักผ่อนน้อย กินเยอะ ช่วงปีใหม่เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภาวะซึมเศร้าซ้ำเติม แนะ 5 วิธีปรับตัว

จากการติดตามสถานการณ์สุขภาพของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มักใช้ช่วงเวลาสำคัญนี้ ในการเดินทางไปพบปะครอบครัวและญาติมิตร เพื่อกราบสวัสดีปีใหม่ และเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ รวมทั้งการมีกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการสร้างสุขภาพที่ดี และกิจกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

โดยเฉพาะงานเลี้ยงสังสรรค์ที่เต็มไปด้วยอาหารทอด ขนมหวาน เครื่องดื่มต่าง ๆ การกินอาหารในปริมาณที่มากเกินไปทั้งในงานเลี้ยงฉลอง อาหารของฝากกระเช้าของขวัญปีใหม่ ที่มักประกอบไปด้วยเค้ก คุกกี้ ช็อกโกแลต อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่ให้พลังงานมาก หากกินมากเกินไปจะส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือด ไขมันสะสม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีภาวะอ้วน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  (กลุ่มโรค NCDs )อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจและหลอดเลือด 

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะ Post-Vacation Depression หรือภาวะซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว ซึ่งเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะทำให้รู้สึกหดหู่ เศร้าหมองคงอยู่ 2-3 วัน แต่ในบางรายอาจยาวนานถึง 2-3 สัปดาห์ จนกระทบต่อการใช้ชีวิต อาการสำคัญที่พบ ได้แก่ ภาวะเหงา ซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า ขาดแรงจูงใจ และความรู้สึกหมดพลัง หมดไฟในการทำงาน

สำหรับ 5 เทคนิคในการปรับตัวเพื่อให้กลับมาทำงาน หรือใช้ชีวิตปกติหลังเทศกาลปีใหม่ สามารถนำมาปรับใช้ได้ดังนี้ 

- ดูแลสุขภาพ โดยควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้วยสูตร 2:1:1 โดยแบ่งจานอาหารออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน สองส่วนแรกเป็นผักสด หรือผักสุกมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป อีกส่วนหนึ่งเป็นข้าว แป้ง ควรเลือกชนิดไม่ขัดสีและส่วนสุดท้ายเป็นประเภทโปรตีน, เน้นปลา, เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือ การนับคาร์บ ซึ่งคำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เช่น แป้ง หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง  โซเดียมสูง กินอาหารครบหมู่ รวมทั้งผัก ผลไม้สด ดื่มน้ำเปล่า วันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย 

- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำสัปดาห์ละ 3–5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที ให้ได้สัปดาห์ละ 150 นาที เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและอัตราการเผาผลาญพลังงาน เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายด้วยการเคลื่อนไหวออกแรงในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ทำงานบ้าน เดิน เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก และเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ ปอดให้แข็งแรง 

- นอนหลับพักผ่อน วันละ 7-9 ชั่วโมง 

- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน แสดงความใส่ใจห่วงใย และส่งกำลังใจด้วยการสื่อสารที่ดีอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้รูปแบบที่เหมาะสม กรณีที่อยู่ห่างไกลกัน สามารถโทรศัพท์หรือส่งข้อความหากันได้ 

- ฝึกสมาธิ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ 


ข้อมูลจาก: กรมอนามัย

ภาพจาก: Getty Images 


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง