TNN เตือนภัย หากพบข้อความแบบนี้? "มีคนกำลังรีโมทมือถือ" แนะวิธีแก้

TNN

สังคม

เตือนภัย หากพบข้อความแบบนี้? "มีคนกำลังรีโมทมือถือ" แนะวิธีแก้

เตือนภัย หากพบข้อความแบบนี้? มีคนกำลังรีโมทมือถือ แนะวิธีแก้

เพจ นายอาร์ม อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังด้านไอที เตือนภัยหากพบข้อความแบบนี้? กำลังมีคนพยายามรีโมท "โทรศัพท์มือถือ" พร้อมแนะวิธีแก้เบื้องต้น

เพจเฟซบุ๊ก “สืบนครบาล IDMB” ได้โพสต์แชร์ข้อมูลจากเพจ นายอาร์ม อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังด้านไอที ที่ได้ออกเตือนภัยกลโกงของมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบใหม่ หากโทรศัพท์มือถือขึ้นเตือนว่า “มีผู้อื่นเข้าถึงหน้าจอของคุณ” แสดงว่ามีผู้พยายามเตือนเราว่ามีคน Remote เครื่องเราอยู่ อันนี้แทบมั่นใจได้เลยว่าโดนละ(แอปโจร) แต่ google ป้องกันไว้ให้เราชั้นนึง


วิธีแก้เบื้องต้นคือ เปิด airplane mode (และปิด wifi) แล้วหาแอปแปลกๆและลบทิ้ง หรือเข้าเมนู accessibility แล้วดูว่าแอปไหนขอสิทธิ์ remote แล้วลบทิ้งทันที





ทำไม OTP จึงสำคัญ

OTP หรือมีชื่อเต็ม ๆ ว่า One Time Password คือ รหัสผ่านที่สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวต่อการเข้าสู่ระบบหนึ่งครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร 6 หลักที่มีระยะเวลาใช้งานสั้นมากเพียงไม่กี่นาที หากกรอกรหัสผิดหรือกรอกช้ากว่าเวลากำหนด การเข้าระบบนั้นก็จะไม่สำเร็จ

ถ้าเกิดว่า คุณกรอกรหัส OTP 6 หลักไม่ทัน หรือไม่สำเร็จ สามารถกดขอรหัส OTP 6 หลักได้อีกครั้งเลย เพราะ 1 รหัสใช้ได้แค่ 1 ครั้งเท่านั้น คุณจึงไม่ต้องจำรหัส OTP 6 หลักเหมือนรหัสอื่น ๆ ที่ต้องเข้าใช้งานอยู่แบบประจำ เพราะใช้แค่ครั้งเดียวแล้วเสร็จ

OTP ในกรณีของการทำธุรกรรมการเงินนั้น เป็นเหมือนกุญแจเข้าไปไขบัญชีเงินของเราในธนาคาร ซึ่งปกติธนาคารจะส่งมาให้เราก็ต่อเมื่อเราขอไปเท่านั้น และรหัสนั้นจะใช้ได้ครั้งเดียวในเวลาสั้นๆ

หากโจรได้จากเราไปต่อ สิ่งแรกๆ ที่เขาจะทำคือ เปลี่ยนรหัสเข้าบัญชีเราและฉกเงินของเราออกไปหมด และธนาคารไม่มีวันจะขอ OTP จากเราเด็ดขาด เพราะเขาเป็นคนให้เรามาเอง ดังนั้น รหัส OTP อย่าให้ใครรู้ หรือส่งให้ใครเด็ดขาด



ระวัง! มิจฉาชีพหลอกลงแอป Remote access อาจสูญเงินหมดบัญชี


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า จากกรณีที่มิจฉาชีพมีการโทรศัพท์ ส่งข้อความ SMS และส่งข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย เชิญชวนให้ประชาชน เจ้าของธุรกิจ โหลดแอพพลิเคชัน Remote access ลงบนมือถือ หรือแจ้งให้ท่านกรอกข้อมูลธุรกิจของท่านผ่านเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ และเว็บไซต์ต่างๆ  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ขอให้ทุกท่านโปรดอย่าหลงเชื่อในการโหลดแอพพลิเคชัน Remote access หรือให้ข้อมูลธุรกิจของท่านกับบุคคลอื่นโดยเด็ดขาด 


เนื่องจาก หากท่านโหลดแอพพลิเคชันหรือกรอกข้อมูลธุรกิจที่สำคัญของท่านแล้ว จะทำให้ผู้ไม่หวังดีและมิจฉาชีพ สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัญชีธนาคารออนไลน์ ข้อมูลธุรกิจและข้อมูลอื่นๆที่สำคัญของท่านบนมือถือได้ โดยมิจฉาชีพสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลผ่านแอพพลิเคชันและเว็บไซต์ได้  


นอกจากนี้มิจฉาชีพ ยังมีการกระทำผิดในรูปแบบต่างๆ อาทิ ถอนเงินจากบัญชีธนาคารของท่านจนหมดโดยที่ท่านไม่รู้ตัว และมิจฉาชีพสามารถที่จะควบคุมการทำธุรกรรมต่างๆ บนมือถือของท่านซึ่งจะทำให้ท่านได้รับความเสียหายอีกด้วย






ขอบคุณข้อมูลจาก เพจนายอาร์ม / สืบนครบาล IDMB
ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ