TNN ทำความรู้จัก ‘ปลาออร์ฟิช ’ พบลอยตายบนทะเลไทย สัญญาณภัยพิบัติจริงหรือ?

TNN

สังคม

ทำความรู้จัก ‘ปลาออร์ฟิช ’ พบลอยตายบนทะเลไทย สัญญาณภัยพิบัติจริงหรือ?

ทำความรู้จัก ‘ปลาออร์ฟิช ’ พบลอยตายบนทะเลไทย สัญญาณภัยพิบัติจริงหรือ?

ทำความรู้จัก ‘ปลาออร์ฟิช ’ พบลอยตายในทะเลอันดามันของไทย ใช่สัญญาณการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือไม่?

เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ถูกพูดถึงอยู่ในระยะนี้สำหรับ ‘ปลาออร์ฟิช ’ หรือ ปลาพญานาค ตามคำเรียกของชาวบ้านท้องถิ่น เนื่องจากมีลักษณะลำตัวยาว มีหงอนเหมือนดั่งพญานาค  ซึ่งมีการพบปลาชนิดนี้ลอยตายอยู่ในบริเวณทะเลอันดามันของภาคใต้ ซึ่งเกิดเป็นคำถามว่า ปลาน้ำลึกจู่ๆ กลับลอยตายขึ้นมานั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือไม่? ล่าสุด ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ออกมาอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว พร้อมกับเปิดเผยข้อมูลของ  ‘ปลาออร์ฟิช ’ ว่าเป็นปลาชนิดไหนมีถิ่นอาศัยอยู่ที่ใด 


ทำไมเราถึงพบ ‘ปลาออร์ฟิช ’ ลอยตายบนทะเลอันดามัน - ใช่สัญญาณภัยธรรมชาติหรือไม่? 


อาจารย์เจษฎา ระบุว่าตอนนี้ มีคำอธิบายถึงการที่ไทยเราพบ "ปลาออร์ฟิช" ที่จังหวัดสตูล โดยถูกเรืออวนดำล้อมจับได้ในทะเลอันดามัน บริเวณเกาะอาดัง อ.ละงู จ.สตูล ว่าน่าจะเกิดจากปรากฏการณ์ มหาสมุทรอินเดียสลับสองขั้ว (Indian Ocean Dipole หรือ IOD) ซึ่งหลายคนงง ๆ ว่ามันคืออะไร การพบปลาออร์ฟิชครั้งนี้ ก็อาจจะเป็นผลจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เรียกว่า Indian Ocean Dipole (IOD) ในสถานะขั้วบวก (Positive , +1)  


ทำความรู้จัก ‘ปลาออร์ฟิช ’ พบลอยตายบนทะเลไทย สัญญาณภัยพิบัติจริงหรือ?


- นั่นคือ ‘มวลน้ำชั้นบน’ ในมหาสมุทรอินเดีย ฝั่งตะวันออก และในทะเลอันดามัน (ฝั่งไทยเรา) เกิดการถ่ายเทไหลไปทางมหาสมุทรอินเดีย ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทวีปแอฟริกา) 

- ขณะที่ ‘มวลน้ำชั้นล่าง’ ในทะเลอันดามัน ก็ยกตัวเข้าใกล้ผิวน้ำมากยิ่งขึ้น

-  บริเวณแนวรอยต่อระหว่างมวลน้ำชั้นล่าง และมวลน้ำชั้นบน จะมีธาตุอาหารในปริมาณที่สูง ดึงดูดทั้งแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำวัยอ่อน ให้เข้ามาอยู่อาศัย 

- ดังนั้น เมื่อมวลน้ำชั้นล่าง (ในทะเลอันดามัน) ยกตัวขึ้น เข้าใกล้ชายฝั่งมากยิ่งขึ้น ก็อาจดึงดูดให้มีสัตว์น้ำประเภทที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร รวมถึงสัตว์น้ำทะเลลึก และอยู่นอกฝั่ง ให้ตามเข้ามาใกล้ฝั่งมากยิ่งขึ้น (ดัง(เช่น ปลาออร์ฟิช นี้ ที่เป็นปลาที่กินแพลงค์ตอนเป็นอาหาร)


ส่วนที่พบปลาออร์ฟิชลอยขึ้นมาเกยฝั่งนั้น ส่วนมากจะอยู่ในสภาพป่วย ใกล้ตายแล้ว เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความดัน และสภาพแวดล้อม นั่นเอง


‘ปลาออร์ฟิช ’ คืออะไร ทำไมเหมือนพญานาค 


ปลาออร์ฟิช (Oarfish) หรือปลาริบบิ้น หรือปลาพญานาค จัดเป็นปลาทะเลน้ำลึกชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลในช่วงความลึกประมาณ 200-1,000 เมตร ซึ่งเป็นระดับที่แสงส่องลงไปถึงน้อยมาก เราจึงมีโอกาสเห็นมันหลงมาเกยตื้นหรือที่ระดับผิวน้ำได้น้อย ปลาออร์ฟิช ถูกค้นพบตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1772 โดยนักชีววิทยาชาวนอร์เวย์ ชื่อ ปีเตอร์ แอสคานุส เป็นปลาที่มีลำตัวที่แบนแคบ ว่ายน้ำอยู่ใต้ท้องทะเลลึก และกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร 


ทำความรู้จัก ‘ปลาออร์ฟิช ’ พบลอยตายบนทะเลไทย สัญญาณภัยพิบัติจริงหรือ?


ลักษณะพิเศษอีกอย่างคือหงอนสีแดงขนาดใหญ่สีสันสดใส เมื่อโตเต็มที่มีความยาวราว 10-15 เมตร แต่ตัวที่ยาวที่สุดเท่าที่ถูกบันทึกไว้คือขนาด 17 เมตรที่ถูกจับได้โดยนาวิกโยธินสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ปี 1996 บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก รัฐแคลิฟอร์เนีย บ่อยครั้งที่มีคนพบปลาออร์ฟิชลอยขึ้นมาเกยฝั่ง หรือหลงกระแสน้ำทะเลเข้ามาในเขตน้ำจืด ปลาที่พบส่วนมากจึงอยู่ในสภาพใกล้ตายแล้ว เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความดันและสภาพแวดล้อม


ข้อมูลจาก: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งJessada Denduangboripant

ภาพจาก: AFP 

ข่าวแนะนำ