TNN ‘ลงทะเบียนซิมการ์ด’ ผู้ใช้มีเกิน 5 เบอร์ ต้องยืนยันตัวตน เริ่มม.ค. 67

TNN

สังคม

‘ลงทะเบียนซิมการ์ด’ ผู้ใช้มีเกิน 5 เบอร์ ต้องยืนยันตัวตน เริ่มม.ค. 67

‘ลงทะเบียนซิมการ์ด’ ผู้ใช้มีเกิน 5 เบอร์ ต้องยืนยันตัวตน เริ่มม.ค. 67

กสทช.เตรียมออกประกาศ ให้ผู้ที่ถือซิมการ์ดเกิน 5 เบอร์ 'ต้องยืนยันตัวตนกับเครือข่ายมือถือ' คาดเริ่มม.ค. 67

วันนี้ (27 พ.ย. 66) พลตำรวจเอกณัฐธร  เพราะสุนทร กรรมการ กสทช.ด้านกฎหมาย  เปิดเผยว่า  กสทช. เตรียมออกประกาศให้ผู้ใช้บริการที่มีซิมการ์ดเกิน 5 ซิม หรือ เกิน 5 หมายเลข ต้องกลับมารายงานตัวยืนยันตัวตน เพื่อให้เกิดความแน่ชัดว่าบุคคลใดเป็นผู้ถือครองซิม และใครเป็นผู้ใช้ ซึ่งร่างประกาศดังกล่าว ทางคณะกรรมการ กสทช .ได้มีมติเห็นชอบร่าง เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566  และมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเหลือการรับฟังความเห็นเฉพาะกลุ่มร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีก 1 ครั้ง ในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ 


จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาความเห็นชอบ จากที่ประชุมกสทช.เพื่อลงมติประกาศใช้ คาดว่า จะประกาศได้ในช่วงปลายปี2566 หรือช้าสุด ช่วงเดือนมกราคม 2567 


สำหรับคนที่ถือครองซิมการ์ดหมายเลขมือถือ เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ 6 ซิมขึ้นไป จนถึง 100 ซิม นั้น ต้องมายืนยันตนภายใน 180 วัน ส่วนผู้ที่ถือครองซิม หมายเลขมือถือ ตั้งแต่ 101 ซิมขึ้นไป จนถึงหลักพัน หลักหมื่นซิม ต้องมายืนยันตนภายใน 30 วัน หากไม่มารายงานตัวเพื่อยืนยันตัวตน จะถูกระงับการโทรออก และระงับการใช้อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นจะให้ระยะเวลาอีก 30 วัน ในการเข้ามารายงานตัว แต่หากยังไม่มาอีกก็จะทำการเพิกถอนหมายเลขมือถือการใช้ทั้งหมด 


วันนี้มีการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการแนวทางในการบังคับใช้กฎหมาย ความผิดทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมและความมั่นคงของรัฐวาระเร่งด้วย สืบเนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย สำนักงานสืบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ส่งข้อมูล เกี่ยว กับ หมายเลขโทรศัพท์ที่มีการรับแจ้งผ่าน ช่องทางออนไลน์  Thai Police Online และ1441  โดยมีประชาชนเข้าแจ้งความผิดปกติของหมายเลขมือถือกว่า 41,000  หมายเลข  ทั้งหมายเลขที่โทรหลอกลวงหรือส่งข้อความหลอกลวง และหมายเลขมือถือที่ผูกกับบัญชีม้า 


ทั้งนี้กสทช.จะร่วมกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติทำการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลว่าหมายเลขใดมิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวงประชาชนก็จะทำการประสานข้อมูลไปยังผู้ประกอบการในการติดตามและจับกุมคนร้าย โดยจะมีการเอาผิดย้อนหลัง ก่อนที่จะมีพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566  ซึ่ง ผู้ถือครองหมายเลขมือถือ ต้องรับผิดชอบ หากมีการเปิดหมายเลขมือถือแล้วให้ผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ผิด 


ภาพจาก  AFP 

ข่าวแนะนำ