เมื่อประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย วัยเก๋าต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
เมื่อประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย วัยเก๋าต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
หลายปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้เกิดชีวิตวิถีใหม่หรือ New Normal ที่ผู้คนเดินทางน้อยลง แต่เข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคระบาด
แม้สถานการณการณ์ของโรคระบาดจะคลี่คลายลงแล้ว แต่พฤติกรรมการเสพติดสื่อของผู้สูงวัย ก็ไม่ได้ทุเลาลง แต่กลับเพิ่มมากขึ้นโดยสถิติล่าสุดพบว่าผู้สูงวัยใช้สื่อออนไลน์กว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน
อีกด้านหนึ่งโครงสร้างประชากรของไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว โดยมีผู้ที่อายุเกินกว่า 60 ปี ประมาณ 20% และจะเพิ่มเป็น 30% ในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า
สองปัจจัยข้างต้นทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ตกเป็นเหยื่ออันโอชะของมิจฉาชีพ ที่แฝงตัวมาทางสื่อออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ โดยแต่ละปีมีผู้สูงอายุสูญเสียทรัพย์สินไปประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
ด้วยเหตุนี้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงสนับสนุนโครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก” อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อสร้างความเท่าทันสื่อและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้ก้าวทันเทคโนโลยีดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และปรับใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี และมีส่วนร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคม
นำไปสู่การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต สร้างรายได้และผลผลิตให้กับตนเองและสังคมได้ โดยมีสโลแกนของโครงการฯ ว่า
“สื่อเปลี่ยน ผู้สูงอายุปรับ ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง สร้างประโยชน์ให้กับสังคม”
สื่ออยู่กับเรา เราอยู่กับสื่อ
การเท่าทันสื่อเป็นหัวใจของใช้สื่อ เพราะสื่อมีผลกระทบทั้งบวกและลบ โดยเฉพาะกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามากับสื่อออนไลน์ แต่ละวันมีผู้สูงวัยที่ตกเป็นเหยื่อกว่าพันราย สะท้อนว่ามิจฉาชีพชุกชุมและมีสื่อร้ายแพร่ระบาดในโลกออนไลน์ จึงจำเป็นที่ผู้อายุต้องมีความเท่าทันสื่อและเท่าทันตนเองด้วย เพราะผู้สูงอายุที่เปลี่ยวเหงามักจะกลายเป็นเหยื่อ จึงจำต้องปกป้องตัวเองให้เป็นและป้องกันคนอื่นให้ได้ แต่ก็ไม่ควรกลัวเกินไป เพราะทุกคนสามารถร่วมเป็นผู้สร้างสื่อที่ดีได้
สื่อสร้างสรรค์ หรือ ไม่สร้างสรรค์ แยกแยะอย่างไร
ดร.ธนกร อธิบายเกณฑ์ชี้วัดไว้ง่าย ๆ ดังนี้
สื่อปลอดภัย-สื่อสร้างสรรค์ มีนิยามอยู่ในมาตารา 3 ของพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 ว่า
“สื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และความมั่นคง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนและ ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและสังคม รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคี และสามารถใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างเป็นสุข
ดังนั้นสื่อสร้างสรรค์ จึงต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อและทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้คน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีให้สังคม และสื่อควรทำหน้าที่กระตุ้นเตือนให้เห็นความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อให้สังคมพร้อมรับผลที่ตามมาได้ รวมถึงมองเห็นปัญหาและหาทางออกร่วมกัน
อ่านเพิ่มเติมที่นี่ https://mediatrust.thaimediafund.or.th/social-movement/3577/