TNN ไฟไหม้ "สารเคมีอันตราย" ควรทำอย่างไร? แนะวิธีดูแลตัวเอง

TNN

สังคม

ไฟไหม้ "สารเคมีอันตราย" ควรทำอย่างไร? แนะวิธีดูแลตัวเอง

ไฟไหม้ สารเคมีอันตราย ควรทำอย่างไร? แนะวิธีดูแลตัวเอง

ไขข้อสงสัย หากเกิดเพลิงไหม้ "สารเคมีอันตราย" ควรทำอย่างไร? ห้ามทำอะไรบ้างขณะเกิดเหตุ แนะวิธีดูแลตัวเอง

ไขข้อสงสัย หากเกิดเพลิงไหม้ "สารเคมีอันตราย" ควรทำอย่างไร? ห้ามทำอะไรบ้างขณะเกิดเหตุ แนะวิธีดูแลตัวเอง


จากกรณีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 9 ตัน บริเวณลานสินค้าอันตราย JWD ภายในท่าเรือแหลมฉบัง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งภายในตู้คอนเทนเนอร์มีสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารกัดกร่อน บรรจุอยู่ในกล่องกระดาษจำนวน 378 กล่อง กล่องละ 18 กิโลกรัม ทำให้บริเวณโดยรอบมีกลิ่นฉุนรุนแรง ทีมดับเพลิงได้ฉีดน้ำเพื่อควบคุมไอระเหยไม่ให้กระทบไปยังพื้นที่บริเวณกว้างและสามารถควบคุมเพลิงได้แล้ว 


ต่อมา นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีเพลิงไหม้ตู้คอนเทนเนอร์ภายในคลังสินค้า ว่า เบื้องต้น บริษัทได้อพยพพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ 183 ราย พบมีอาการระบบทางเดินหายใจ 6 ราย ทีมแพทย์ได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในที่เกิดเหตุ และส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเอกชนใกล้เคียงแล้ว


เจ้าหน้าที่ยังได้คัดกรองพนักงานที่ได้รับผลกระทบบริเวณหอสังเกตการณ์ จำนวน 54 รายบริเวณลานจอดรถโตโยต้า จำนวน 23 ราย ไม่พบผู้มีอาการผิดปกติ ส่วนการคัดกรองบริเวณชุมชนโดยรอบรัศมี 5 กิโลเมตร ยังไม่พบผู้ได้รับผลกระทบเช่นกัน เจ้าหน้าที่ได้แจกหน้ากาก N95 ให้กับผู้ปฏิบัติงาน 100 ชิ้น และประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุประจำชุมชนให้ประชาชนในละแวกใกล้เคียงสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและสังเกตตนเอง หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งผู้นำชุมชนหรืออสม. เพื่อส่งต่อเข้าพบแพทย์โรงพยาบาลแหลมฉบังทันที 


เนื่องจากสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์มีคุณสมบัติกัดกร่อน หากสัมผัสต้องรีบล้างด้วยน้ำและสบู่ ถ้าเข้าตาต้องล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆ ในทันที กรณีที่เผลอรับประทานเข้าไป ควรดื่มนมหรือน้ำแล้วรีบไปพบแพทย์ หรือหากหายใจเอาฝุ่นหรือละอองเข้าไปต้องรีบไปพบแพทย์ทันที


กรณีเกิดเพลิงไหม้ สารเคมีอันตราย ควรทำอย่างไร


กรณีเกิดเพลิงไหม้ สารเคมีอันตราย “คู่มือการจัดการสารเคมีอันตรายสูง” โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ระบุการจัดการกรณีเพลิงไหม้ ดังนี้

-ห้ามใช้น้ำฉีดไปยังบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้โดยตรง เนื่องจากจะทำให้เกิดการกระจายตัวของเพลิงไหม้มากขึ้น ควรใช้ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ หรือโฟมดับเพลิง
-สิ่งสำคัญ ต้องควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกไหม้ไปยังภาชนะที่ยังไม่เสียหายและพยายามเคลื่อนย้ายออกจากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ เพื่อลดจำนวนสารเคมีที่พร้อมติดไฟตลอดเวลา
-สำหรับการใช้น้ำเพื่อควบคุมเพลิงนั้น ควรอยู่ในระยะไกลที่สุด หรือใช้สายฉีดน้ำชนิดที่ไม่ต้องใช้คนถือหรือหัวฉีดที่มีระบบควบคุม โดยฉีดฝอยน้ำเพื่อหล่อเย็นถังเก็บและภาชนะบรรจุสไตรีนโมโนเมอร์ จนกว่าเพลิงจะสงบ
-หากพบว่าถังเก็บและภาชนะบรรจุเปลี่ยนสีหรือหากได้ยินเสียงจากอุปกรณ์นิรภัยระบายไอ ให้รีบออกจากบริเวณเพลิงไหม้ทันที
-ห้ามเข้าใกล้บริเวณหัวหรือท้ายของถังเก็บและภาชนะบรรจุ ควรใช้ถุงทรายหรือวัสดุปิดกั้นวางป้องกันกรณีสารเคมีรั่วลงสู่สิ่งแวดล้อม
-เมื่อระงับเหตุได้แล้ว ควรตรวจวัดไอระเหยของสารสไตรีนโมโนเมอร์
-รายงาน แจ้งเหตุ และปฏิบัติตามแผนตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
-แจ้งเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ไปยังโรงงานข้างเคียง เพื่อป้องกันเหตุหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
-กรณีที่ยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ให้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อขอความช่วยเหลือ



การดูแลตัวเอง จากภัยพิบัติที่เกิดจากสารเคมี


-หากอาศัยอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรของเพลิงไหม้ ควรอพยพออกนอกพื้นที่ ไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัย เช่น เหนือลม
-กรณีไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ควรหลบในบ้าน หรืออาคารที่ปิดหน้าต่าง โดยนำผ้าชุบน้ำปิดกั้นตามขอบหน้าต่างและประตู เพื่อป้องกันสารระเหยเข้าไปภายในบ้าน
-สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากเป็นไปได้ ควรสวมหน้ากาก N95 หรือหน้ากากที่ฉาบด้วยสารกรองคาร์บอน (Activated carbon) หรือหน้ากากกรองก๊าซของโรงงาน
-หากรู้สึกระคายเคือง ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามร่างกาย
-กรณีมีอาการแน่นจมูก แสบจมูก ต้องรีบออกไปยังบริเวณอากาศถ่ายเทสะดวก
-หากหมดสติ ควรรีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที
-สวมแว่นตา หากมีอาการแสบตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาด 2-3 นาที หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์




ที่มา โรงพยาบาลสมิติเวช / เว็บรัฐบาล

แฟ้มภาพ ผู้สื่อข่าวชลบุรี / AFP

ข่าวแนะนำ