TNN วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร มีความสําคัญอย่างไร?

TNN

สังคม

วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร มีความสําคัญอย่างไร?

วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร มีความสําคัญอย่างไร?

วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร เปิดประวัติความเป็นมา มีเหตุการณ์อะไรสำคัญ เช็กวันพระตลอดปี 2566 ได้ที่นี่

วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร เปิดประวัติความเป็นมา มีเหตุการณ์อะไรสำคัญ เช็กวันพระตลอดปี 2566 ได้ที่นี่


วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น 15ค่ำ เดือน 11) 1 วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) 


ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์



วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร มีความสําคัญอย่างไร?

 



วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร


วันอาสาฬหบูชา 2566 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ซึ่งปกติจะตรงกับเดือน กรกฏาคม แต่เนื่องจากปีนี้มีเดือน 8 สองหน จึงเลื่อนมาเป็นเดืนอน สิงหาคม แทน


ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา


วันนี้ของทุก ๆ ปี เวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และ พุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่า "วันพระสงฆ์" ก็มี อาสาฬหะ คือ เดือน 8อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ความสำคัญ ของวันเพ็ญเดือน 8 นี้ มีอยู่อย่างไร จะได้นำพุทธประวัติตอนหนึ่งมาเล่าต่อไปนี้ นับแต่วันที่สมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ คือ ในวันเพ็ญเดือน 6 พระองค์ประทับเสวยวิ มุตติสุขในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้น ตลอด ๗ สัปดาห์ คือ

- สัปดาห์ที่ 1 คงประทับอยู่ที่ควงไม้อสัตถะอันเป็นไม้มหาโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้ ทรงใช้ เวลาพิจรณาปฏิจจสมุปปาทธรรมทบทวนอยู่ตลอด ๗ วัน

- สัปดาห์ที่ 2 เสด็จไปทางทิศอีสานของต้นโพธิ์ ประทับยืนกลางแจ้งเพ่งดูไม้มหาโพธิ์โดย ไม่กระพริบพระเนตรอยู่ในที่แห่งเดียวจนตลอด ๗ วัน ที่ที่ประทับยืนนั้นปรากฎเรียกในภายหลังว่า "อนิสิมสสเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ 3 เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์แล้วทรง จงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด ๗ วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ 4 เสด็จไปทางทิศพายัพของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิ ธรรมอยู่ตลอด ๗ วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่า"รัตนฆรเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ 5 เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ์ประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธ อยู่ ตลอด ๗ วัน ในระหว่างนั้น ทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์

- สัปดาห์ที่ 6 เสด็จไปทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุขอยู่ ตลอด ๗ วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา พญานาคมาวงขดล้อมพระองค์และแผ่พังพานบังฝนให้พระองค์ทรงเปล่งพระอุทานสรรเสริญความสงัดและความไม่เบียดเบียนกันว่าเป็นสุบในโลก

- สัปดาห์ที่ 7 เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดเสวยวิมุตติ สุขตลอด ๗ วัน มีพาณิช ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวายพระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว สองพาณิชก็ประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรกในประวัติกาลทรงพิจารณาสัตว์โลกเมื่อล่วงสัปดาห์ที่ 7 แล้ว 

พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธอีก ทรงคำนึงว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จีงท้อพระทัยที่สอนสัตว์ แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมี ตอนนี้แสดงถึงบุคคล 4 เหล่า เปรียบกับดอกบัว 4 ประเภท คือ


1. อุคฆฏิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่ง สอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น

2. วิปจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านขยายความย่อให้พิสดารออกไปเปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จักบานในวันรุ่งขี้น

3. เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรม วิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขี้นในวันต่อๆ ไป

4. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม รังแต่จะเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึงผู้ที่ควรโปรดก่อนคือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ท่านเหล่านี้ก็หาบุญไม่เสียแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ปัญจวัคคีย์ จีงทรงตัดสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จออกเดินไปจากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักตร์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี 

การที่เสด็จเดินทางจากตำบลพระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีเช่นนี้ แสดงให้เห็น เพระวิริยอุตสาหะอันแรงกล้าเป็นการตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแทัจริง หนทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิ์ถึงพาราณสีนั้น ในปัจจุบัน ถ้าไปทางรถไฟก็เป็นเวลา 7-8 ชั่วโมง การเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า อาจใช้เวลาตั้งหลายวัน แต่ปรากฏว่าพอตอนเย็นขึ้น 15 ค่ำ เดือนอาสาฬหะนั้นเอง



วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร มีความสําคัญอย่างไร?

 

 



อริยมรรค 8 ประการ ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

สรุปด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่

1. ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
2. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
3. นิโรธความดับทุกข์
4. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์



วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร มีความสําคัญอย่างไร?

 

 




การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย

พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช 2501 โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง คือ วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา ด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา 


โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2501 และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา 1 สัปดาห์ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัด คนวัดช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ

ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรค่ำแล้วสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกาทำวัตรค่ำต่อจากนั้น ให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแล้วให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะเพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนจบแล้วให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกิน เวลา 24.00 น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย

เมื่อวันอาสาฬหบูชาซึ่งตรงในวันเดียวกันได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญอาสาฬหบูชาเดือน 8 ของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็น 3 พิธีคือ


1.พิธีหลวง (พระราชพิธี)
2.พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
3.พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันอาสาฬหบูชาก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา


วันอาสาฬหบูชา 2566 ตรงกับวันอะไร มีความสําคัญอย่างไร?


เปิดปฏิทินวันพระ และ วันสำคัญตลอดปี 2566 ได้ที่นี่


วันพระ เดือนกรกฎาคม 2566

-วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด

-วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนแปด

-วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนแปด

-วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนแปด


วันพระ เดือนสิงหาคม 2566

-วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด (วันอาสาฬหบูชา)

-วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 แรม 1 ค่ำ เดือนแปด (วันเข้าพรรษา)

-วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนแปด

-วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนแปด

-วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนเก้า

-วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนเก้า


วันพระ เดือนกันยายน 2566

-วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนเก้า

-วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 แรม 14 ค่ำ เดือนเก้า

-วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบ

-วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ


วันพระ เดือนตุลาคม 2566

-วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบ

-วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนสิบ

-วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด

-วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด (วันออกพรรษา)


วันพระ  เดือนพฤศจิกายน 2566

-วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด

-วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 แรม 14 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด

-วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบสอง

-วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบสอง (วันลอยกระทง)


วันพระ  เดือนธันวาคม 2566

-วันอังคารที่ 5 ธันวาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบสอง (วันคล้ายวันเฉลิมฯ ร.9, วันพ่อ)

-วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนสิบสอง

-วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย

-วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย



ที่มา สำนักพระพุทธศาสนาฯ

ภาพจาก TNN Online

ข่าวแนะนำ