TNN สภาทนายความ รับให้ความช่วยเหลือ ญาติเหยื่อคดี โดนวางยาไซยาไนด์ 14 ราย

TNN

สังคม

สภาทนายความ รับให้ความช่วยเหลือ ญาติเหยื่อคดี โดนวางยาไซยาไนด์ 14 ราย

สภาทนายความ รับให้ความช่วยเหลือ ญาติเหยื่อคดี โดนวางยาไซยาไนด์ 14 ราย

สภาทนายความ รับให้ความช่วยเหลือ ญาติเหยื่อคดี โดนวางยาไซยาไนด์ 14 ราย

ที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสมาคมทนายความ ญาติเหยื่อในคดีไซยาไนด์ นายรพี ชำนาญเรือ ผู้ประสานงานเหยื่อในคดี และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวในคดีนี้ // โดย ดร.วิเชียร ชุบไธสง ระบุว่า ทางสภาทนายความฯ ได้รับการติดต่อจากญาติของผู้เสียชีวิต และนายรพี เพื่อให้ทางสภาทนายความฯ ช่วยเหลือทางกฎหมาย ซึ่งจำนวนของเหยื่อในคดีนี้มีทั้งหมด 14 คน แต่ในวันนี้มา 5 ครอบครัว ได้แก่ นางสาวนิตยา แก้วบุปผา (นิด) , นางสาวดาริณี เทพหวี (ฟ้า) , นายสุทธิศักดิ์ พูนขวัญ (แด้) , นางสาวศิริพร ขันวงษ์ (ก้อย) และนางสาวผุสดี สามบุญมี (ครูอ๊อด) / ส่วนอีก 9 ครอบครัว ยังไม่สะดวกเดินทางมาในวันนี้ เพราะอยู่ต่างจังหวัดและติดภารกิจเรื่องงาน 


ดร.วิเขียร ยังยืนยันอีกว่า ทางสภาทนายความฯ ยินดีให้การช่วยเหลือครอบครัวของเหยื่อทุกราย โดยที่ญาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าทนายความแม้แต่บาทเดียว ซึ่งทางสภาทนายความฯ จะจัดทนายความอาสาช่วยเหลือทางคดีในทางกฎหมาย พร้อมทำงานควบคู่ทางตำรวจที่อยู่ระหว่างสืบสวนสอบสวนในคดีดังกล่าว รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เบื้องต้นได้ตั้งคณะทำงานศึกษาให้ความช่วยเหลือแล้ว แต่อยู่ระหว่างหารือว่า ต้องใช้ทนายความกี่คนกับจำนวนเหยื่อแต่ละคดี


ส่วนอุปสรรคที่เหยื่อบางรายเหตุเกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน และไม่มีการชันสูตรศพนั้น เป็นหน้าที่ของพรักงานสอบสวนไปดูว่ามีส่วนเชื่อมโยงไปถึงผู้กระทำคนดังกล่าวหรือไม่ / ซึ่งในหน้าที่ของทนายความก็ต้องแสวงหาข้อเท็จจริง ร่องรอย และพบานหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ ส่วนจะรวบรวมได้มากน้อยเพียงใด ต้องลงไปทำก่อน


เมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่า คดีลักษณะวางยาพิษ มีความยากง่ายมากน้อยเพียงใด และจะสามารถสู้ทนายความอีกฝ่ายได้หรือไม่ / ดร.วิเชียร ระบุว่า เคยมีคดีสำคัญที่เคยทำ คือ คดีฆาตกรรม พญ.ผัสภร บุญเกษมสันติ ที่ถูกสามีฆ่าหั่นศพเสียชีวิตเมื่อปี 2544 ตอนนั้นอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่เรามีทนายความไปฟ้องคดีดังกล่าวแทนญาติ จนทำให้คดีดังกล่าวนำไปสู่คำพิพากษาของศาลฎีกามีโทษประหารชีวิตจำเลยในคดีนั้น


ส่วนการฟ้องร้องค่าเสียหายในคดีแพ่งของทางญาติเหยื่อนั้น เมื่ออัยการมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยต่อศาลแล้ว ญาติของผู้เสียหายสามารถแต่งตั้งทนายความขอเป็นโจทย์ร่วมพนักงานอัยการ เพื่อขอเรียกร้องขอสินไหมทดแทนได้ หรือจะแยกเป็นคดีก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เบื้องต้นเป็นเรื่องละเมิดฯ ซึ่งเท่ากับว่าจะดำเนินคดีทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง


ขณะที่ประเด็นทนายความของอีกฝ่ายที่ได้ให้สัมภาษณ์กับทีวีช่องหนึ่ง โดยแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อทางญาติที่ร่วมรับฟังด้วยนั้น / ดร.วิเชียร บอกว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งทนายความก็มีหน้าที่เข้ามาแก้ต่างในชั้นพนักงานสอบสวน / แต่ต้องคำนึงถึงข้อบังคับว่าด้วยมรรยาทของทนายความด้วย โดยเป็นสิ่งที่ทนายความทุกคนต้องพึงปฎิบัติ พร้อมทั้งห้ามแสดงความคิดเห็น หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ ในส่วนี้ หากพบว่ามีการฝ่าฝืน ญาติเหยื่อสามารถเข้ามาร้องทุกข์ โดยทางคณะกรรมการมรรยาทก็จะเข้าตรวจสอบมรรยาททางทนายความ ตลอดจนหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาเป็นคดีมรรยาท ก่อนดำเนินคดีได้


เบื้องต้นได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 3 คน เข้ามาตรวจสอบข่าวต่างๆ ที่ปรากฏตามสื่อแล้วว่ามีอะไรที่ละเมิดบ้าง ซึ่งทนายความบางคนได้ทำบางสิ่งบางอย่างเลยเถิดจริง ขณะนี้อยู่ระหว่างสอบถามไปยังคณะกรรมการว่าจะต้องดำเนินการในรูปแบบใด


ด้านนายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสาระสนเทศกรรมการ ระบุถึงประเด็นประวัติการรักษาอาการจิตเวชของผู้ต้องหาว่า ในประเด็นประวัติการรักษานั้น หากช่วงเวลาที่ก่อเหตุไม่สามารถหยิบยกมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ได้รับโทษได้ ตลอดจนการตั้งครรภ์เช่นกันที่ไม่เป็นอุปสรรคในการที่ศาลจะพิจารณาลงโทษ และยืนยันว่าการตั้งครรภ์ไม่เป็นอุปสรรคหรือปัญหาในการพิจารณาคดี ฉันศาลในระหว่างการสืบพยาน ซึ่งต้องสงสัยยังคงประหารชีวิตสถานเดียว


ขณะที่ นายรพี ชำนาญเรือ ผู้ประสานงานเหยื่อคดีถูกวางยาไซยาไนด์ บอกว่าวันนี้เป็นตัวแทนญาติผู้เสียชีวิตทั้ง 14ราย ขอบคุณสภาทนายความที่ให้ความช่วยเหลือด้านข้อกฎหมายและคดีความ ซึ่งนอกจากทางสภาทนายความแล้วยังมีทนายคนอื่นๆที่ติดต่อเข้ามาช่วยเหลือเหยื่อด้วย

ข่าวแนะนำ