TNN เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

TNN

สังคม

เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

เปิดเรื่องราว จากพื้นที่ในบ้านสู่การสร้างพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

“ถ้าเด็กอยากเล่นอะไรเราก็ต้องอำนวยความสะดวกให้เขาได้เล่น หรือถ้าเราอยากให้เด็กเรียนรู้เรื่องอะไร เราก็จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้” คำกล่าวของ “ครูนิ้ง” กัญญาวีร์ ฟักทอง จาก “ศูนย์เรียนรู้บ้านเรียนฟักทอง” อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ค้นพบจากประสบการณ์ในการทำงานเป็นครูอาสาทำงานกับเด็กๆ ในชุมชน จนต่อยอดมาสู่การจัดการเรียนรู้แบบ Home School ให้กับลูกๆ ทั้ง 3 คน ด้วยแนวคิด “เรียนไปเล่นไปอยากทำอะไรก็ได้ทำ”

เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบ้านเรียนฟักทอง ได้ถูกใช้เป็นพื้นที่เล่นเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ทั้งดนตรี กีฬา ศิลปะ ทักษะชีวิต ฯลฯ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัวในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เด็กๆ ถูกกักตัวอยู่แต่ในบ้านจนต้องเผชิญกับปัญหาการเรียนรู้ถดถอยหรือ Learning Loss ที่ส่งผลต่อพัฒนาการทุกๆ ด้าน ดังนั้นเมื่อเด็กต้องการเล่น แต่ออกนอกพื้นที่ไม่ได้ ในระยะแรกครอบครัวฟักทองจึงแก้ปัญหาด้วยการขับมอเตอร์ไซด์พ่วงรถเข็น นำของเล่นและอุปกรณ์สนับสนุนการเล่นไปส่งให้ถึงบ้าน เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายก็เริ่มสำรวจพื้นที่ในชุมชน “บ้านหัวแท” และ “บ้านแหลมโพธิ์” ว่ามีที่ไหนที่เด็กๆ ชอบไปรวมตัวกัน ก็จะนำรถตู้คันเล็กๆ ใส่ของเล่นไปจอดไว้ใต้ร่มไม้ หรือศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน

เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

เริ่มจากการนำของไปให้เด็กเล่น ต่อมาก็เริ่มชวนเชิญเด็กและผู้ปกครองทำของเล่น อยากเล่นอะไรก็ทำสิ่งนั้น ขยายผลไปสู่การขอความร่วมมือจากคนในชุมชนที่เริ่มเห็นความสำคัญของการเล่น มองหาพื้นที่ว่างเพื่อสร้างเป็นพื้นที่เล่นให้กับเด็กๆ ที่ต่อมาได้พัฒนาจนเป็น การส่งเสริมการเล่นอิสระในชุมชน ตามหย่อมบ้าน “เล่นหย่อมบ้าน” โดยมี หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน 


“ข้อดีที่สำคัญของการเล่นหย่อมบ้านคือ เด็กสามารถเข้าถึงการเล่นได้ทุกวัย ซึ่งที่ผ่านมาคนในชุมชนจะไม่มีความรู้และไม่เข้าใจการเล่นให้ความสำคัญกับการเรียน มองว่าการเล่นไม่มีความจำเป็น แต่เมื่อมีการเล่นในพื้นที่ของหย่อมบ้าน ผู้ปกครองก็จะเริ่มเห็นว่าเด็กเล่นแล้วเป็นอย่างไร มีความสุขแค่ไหน และเข้าใจว่าเด็กชอบเล่นอะไร ก็เริ่มเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครและเปิดบ้านให้เด็กได้เล่นอย่างมีความสุข” ครูนิ้งระบุถึงข้อดีของการเล่นหย่อมบ้าน

เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

ทางด้าน ย่าอ่อน ยิ้มมาก ผู้ปกครองที่เปิดพื้นที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ข้างบ้านให้เป็นพื้นที่เล่นเรียนรู้ของเด็กๆ เล่าว่า การเล่นทำให้เด็กร่าเริง และมีความสุข ส่วนตนเองอายุมากแล้วจะพาเด็กออกไปที่ไหนก็ลำบากและมีค่าใช้จ่าย จึงอยากให้มาจัดกิจกรรมที่บ้านเพื่อให้เด็กในชุมชนได้มีที่เล่นสนุก เพราะหลานเล่นกันเองแค่ 2 คนก็เหงา แต่พอมีแบบนี้เขาก็จะสนุกเพราะมีเพื่อนเล่น และครูก็จะมาช่วยสอนวิธีในการช่วยดูแลเด็กๆ ระหว่างที่เล่นด้วย โดยพื้นที่เล่นหย่อมบ้านข้างบ้านของย่าอ่อน ในวันนี้ได้มีจัดทำชิงช้า โดยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเพื่อให้เด็กๆ ได้มีของเล่นจากธรรมชาติ มีความเรียบง่าย และเด็กๆสามารถนำไปประกอบการเล่นได้อย่างอิสระตามแต่จิตนาการ โดยมี “พี่(เป็นเพื่อน) เล่น” ทำหน้าที่เป็น “Play Worker” ที่คอยอำนวยความทสะดวก สนับสนุนและช่วยเหลือให้แก่เด็กๆ

เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

“พี่ชี๊ค” ณัฐภัทร และ “พี่เชียร์” วิภาปวีณ์ ฟักทอง สองพี่น้องที่มาช่วยคุณแม่ทำกิจกรรมในพื้นที่ด้วยการทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการเล่นในสไตล์ “พี่เล่น” เล่าว่าทั้งคู่มีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม ทั้งการเตรียมสถานที่ อุปกรณ์การเล่น และดูแลความปลอดภัยให้กับน้องๆ “หน้าที่หลักก็คือเล่นกับน้อง เป็นเพื่อนเล่นเพื่อลดช่องว่างระหว่างคุณแม่กับเด็กๆ แต่ในการเล่นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง ทำหน้าที่สนับสนุนให้เขาได้คิดและลงมือเอง  เพื่อให้เกิดจินตนาการที่หลากหลาย” พี่เชียร์เล่า

เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

เปิดเรื่องราว นวัตกรรมเติมเต็มความ “สุข” และทักษะชีวิต ผ่านการเล่น

ในวันนี้การ “เล่นหย่อมบ้าน” จากการขับเคลื่อนของศูนย์เรียนรู้บ้านเรียนฟักทองได้ขยายพื้นที่ทำงานออกไปในทั้งสองชุมชน โดยมีพื้นที่แห่งความสุขมากกว่า 5 จุด มีเด็กและเยาวชนที่ได้รับการดูแลไม่น้อยกว่า 100 คน รวมไปถึงมีการจัดกิจกรรมการเล่นลงไปในโรงเรียนขยายโอกาสในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ มีการพัฒนาเครือข่าย Play Worker จิตอาสาเข้ามาร่วมกันทำงาน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชนให้กับเด็กๆ ของครูนิ้งและครอบครัว  พร้อมกับเตรียมยกระดับพื้นที่ในปัจจุบันไปสู่การเป็น  “มานา มานะ Learning Space” เพื่อต่อยอดไปสู่การเป็น Farm / Home Stay & Cafe และปักหมุดหมายใหม่ของพื้นที่เรียนรู้ที่ใช้การเล่นเป็นสื่อกลางให้กับคนทุกเพศวัย โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว

การ “เล่น”  ในวันนี้จึงไม่เรื่อง “เล่นๆ” อีกต่อไป  เพราะการเล่นของเด็กๆ เชื่อมโยงไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่มีผลลัพธ์คือสถาบันครอบครัวและสังคมที่เข้มแข็ง


ที่มาข้อมูล: TNN ONLINE

ที่มาภาพ : TNN

ข่าวแนะนำ