TNN เช็กที่นี่ "เอกสาร-อีเมลปลอม" มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ

TNN

สังคม

เช็กที่นี่ "เอกสาร-อีเมลปลอม" มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ

เช็กที่นี่ เอกสาร-อีเมลปลอม มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ

สำนักงาน ปปง. แจ้งเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพสร้างเอกสารและอีเมลปลอม แอบอ้างชื่อสำนักงาน ปปง. หากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1710

สำนักงาน ปปง. แจ้งเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพสร้างเอกสารและอีเมลปลอม แอบอ้างชื่อสำนักงาน ปปง. หากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1710


สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับแจ้งจากประชาชนเพื่อขอให้ตรวจสอบ กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email : อีเมล) ส่งหนังสือแจ้งผู้เสียหายเรื่องการรับรองแหล่งที่มาของทรัพย์สินเพื่อรับเงินจากการเคลมประกัน ซึ่งในอีเมลดังกล่าว มีข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหาย เช่น ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขบัญชีธนาคาร, ยอดเงินที่ได้รับการเคลมประกัน เป็นต้น และแจ้งให้ผู้เสียหายต้องดำเนินการเสียภาษีอากรด้วยตนเองภายใน 7 วัน ซึ่งมิจฉาชีพได้จัดทำเอกสารปลอม เช่น หนังสือรับรอง แบบรายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน เอกสารการโอนเงิน เป็นต้น และ สร้างอีเมลปลอมโดยใช้ชื่ออีเมล [email protected] เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงิน


สำนักงาน ปปง. ขอแจ้งว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำของมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการ โดยสร้างอีเมลปลอมเพื่อใช้ในการส่งเอกสารปลอมหลอกลวงผู้เสียหายให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ หรือหลอกให้โอนเงินไปให้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ 


สำนักงาน ปปง. จึงขอแจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโดยเด็ดขาด หากผู้ใดได้รับการติดต่อในลักษณะเช่นนี้ให้ดำเนินการดังนี้


1.อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว อย่าโอนเงิน 

2.ตรวจสอบ Email Header หรือ หัวอีเมลให้ชัดเจนเพื่อตรวจสอบว่า ปรากฏ Domain ของหน่วยงานต้นทาง จริงหรือไม่ เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาในเบื้องต้น 

3.หากอีเมลนั้นมีการแนบลิงก์ให้ลงทะเบียนหรือให้ดำเนินการใด ๆ ก็ตาม อย่าเปิดอีเมลหรือคลิ๊กลิงก์นั้น 

4.หากมีการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการ เช่น เจ้าหน้าที่ ปปง. สำนักงานศุลกากร ศาล ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ธนาคาร ส่งอีเมลหรือโทรศัพท์มาเพื่อให้ทำการโอนเงินต่างๆ ควรขอชื่อ ตำแหน่ง หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงาน และโทรศัพท์สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ค้นหาเอง และขอพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่อ้างชื่อดังกล่าวโดยตรง เพื่อยืนยันตัวตนเจ้าหน้าที่ ก่อนทำการโอนเงินทุกกรณี


สำนักงาน ปปง. มีความห่วงใยต่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของประชาชน และขอให้เชื่อมั่นว่าสำนักงาน ปปง. จะมุ่งดำเนินการทั้งด้านป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อย่างเข้มข้นและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำความผิด ให้โทรศัพท์ติดสอบสอบถาม หรือแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปปง. 1710


เช็กที่นี่ เอกสาร-อีเมลปลอม มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ ภาพจาก ปปง.

 


เช็กที่นี่ เอกสาร-อีเมลปลอม มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ ภาพจาก ปปง.

 


เช็กที่นี่ เอกสาร-อีเมลปลอม มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ ภาพจาก ปปง.

 



 





เช็กที่นี่ เอกสาร-อีเมลปลอม มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ ภาพจาก ปปง.

 









ภาพจาก ปปง. / AFP

ข่าวแนะนำ