TNN APEC 2022 เปิด 5 ประเด็นสำคัญของ "กมลา แฮร์ริส" บนเวทีเอเปค

TNN

สังคม

APEC 2022 เปิด 5 ประเด็นสำคัญของ "กมลา แฮร์ริส" บนเวทีเอเปค

APEC 2022 เปิด 5 ประเด็นสำคัญของ กมลา แฮร์ริส บนเวทีเอเปค

เปิด 5 ประเด็นสำคัญ ปาฐกถาโดย นาง "กมลา แฮร์ริส" รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เน้นเสริมสร้างความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความเป็นหุ้นส่วนอย่างทั่วถึงในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

ปาฐกถาโดย นาง "กมลา แฮร์ริส" รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

    


นางกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจในภูมิภาคแปซิฟิกที่น่าภูมิใจ และมีฐานประโยชน์สำคัญในการส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกัน มั่งคั่ง มั่นคงและยืดหยุ่น 


โดยในช่วงระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเธอเข้ารับตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มพันธมิตรและคู่ค้าทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก 


ทั้งยังได้ยกระดับข้อตกลงด้านการป้องกันและยับยั้ง ช่วยให้อินโด-แปซิฟิก รักษาความมั่นคงและพัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองมานานกว่า 70 ปี


รัฐบาลสหรัฐฯ ยังร่วมมือกับพันธมิตรและคู่ค้า ในการรักษากฎและบรรทัดฐานระหว่างประเทศ ภายใต้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ทำให้สหรัฐฯ มีส่วนร่วมกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก มากกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งเราได้หลอมรวมศักยภาพใหม่ๆ และความเป็นผู้นำเข้าสู่เครือข่ายพันธมิตรระดับโลกที่ไม่มีใครเทียบได้




ประเด็นสำคัญ: 


    นาง  "กมลา แฮร์ริส"  รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ย้ำถึงพันธสัญญาของสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความเป็นหุ้นส่วนอย่างทั่วถึงในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก  


    นาง "กมลา แฮร์ริส"  กล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินโดแปซิฟิกมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสหรัฐฯ และระบุว่าสหรัฐฯ มี ‘พันธสัญญาทางเศรษฐกิจที่ยืนยงต่อภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยจะคงอยู่ยาวนานไม่เพียงแค่หลายปี แต่จะยาวนานไปอีกหลายทศวรรษ’ และ ‘สหรัฐฯ จะไม่ห่างหายไปไหน’ 


    รัฐบาลภายใต้การนำของนายโจ ไบเดน ได้ริเริ่มแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ หลายประการ หนึ่งในนั้นคือ ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกของสหรัฐฯ ซึ่งประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ประกาศยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม ความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน พลังงานที่สะอาด และการต่อต้านคอร์รัปชั่น นอกจากนี้สหรัฐฯ และญี่ปุ่นยังได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมกระบวนการทางธุรกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ส และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 


    นางแฮร์ริสยืนยันว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศกำลังพัฒนา พร้อมกับเรียกร้องให้ภาคเอกชนช่วยกันสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด


    นางแฮร์ริสกล่าวว่าประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก จะได้รับประโยชน์จาก กฎหมายว่าด้วยชิปส์และวิทยาศาสตร์ (US Chips and Science Act) และกฎหมายว่าด้วยการลดเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) เพราะความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ย่อมส่งผลดีต่อทั้งภูมิภาค รองประธานาธิบดีแฮร์ริสกล่าวด้วยว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ยึดมั่นในความพยายามที่จะเพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายทุนอยางเสรี  พร้อมกับเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง



ภาพ APEC 2022 

ข่าวแนะนำ