TNN TNN Exclusive : APEC 2022 สรุป 10 ประเด็นสำคัญ ใน APEC CEO Summit 2022

TNN

สังคม

TNN Exclusive : APEC 2022 สรุป 10 ประเด็นสำคัญ ใน APEC CEO Summit 2022

TNN Exclusive : APEC 2022 สรุป 10 ประเด็นสำคัญ ใน APEC CEO Summit 2022

TNNOnline รวบรวม 10 ประเด็นสำคัญ ในการประชุม APEC CEO Summit 2022 17 พ.ย.65

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเปิดการประชุม  APEC CEO Summit 2022  17 พ.ย.65    


      

APEC CEO Summit เป็นหนึ่งในการรวมตัวของภาคธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และเป็นการกลับมาอีกครั้งของการประชุมในรูปแบบพบหน้า ถือเป็นการส่งสัญญาณบวกให้แก่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สะท้อนให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกพร้อมเดินหน้าทำธุรกิจอย่างเต็มที่อีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสให้ฟื้นฟูความเชื่อมโยง รื้อฟื้นความสัมพันธ์ และสานต่อความร่วมมือระหว่างกัน สำหรับประเด็นสำคัญของเอเปคปีนี้ ซึ่งอยู่บนแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่ไทยนำมาเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาและการเติบโต ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างคุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

TNN Exclusive : APEC 2022 สรุป 10 ประเด็นสำคัญ ใน APEC CEO Summit 2022

ประเด็นสำคัญ :  


1. APEC CEO Summit เป็นหนึ่งในการรวมตัวของภาคธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และเป็นการกลับมาอีกครั้งของการประชุมในรูปแบบพบหน้า ถือเป็นการส่งสัญญาณบวกให้แก่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สะท้อนให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพร้อมเดินหน้าทำธุรกิจอย่างเต็มที่อีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสให้ฟื้นฟูความเชื่อมโยง รื้อฟื้นความสัมพันธ์ และสานต่อความร่วมมือระหว่างกัน


2. ภาคเอกชนมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ที่ไทยนำมาเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาและการเติบโต ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างคุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม 


3. นายกฯ ประกาศว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคตอันใกล้ 


4. ความยั่งยืนเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดสำหรับปีนี้ 


5. ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก และสภาพภูมิอากาศล้วนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ จึงจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ปกป้องสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า


6. วิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลาง (MSMEs) มีจำนวนมากถึง 98% ของผู้ประกอบการธุรกิจในภูมิภาค ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริมบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุนเพื่อช่วยเหลือ MSMEs การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และเอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เทคโนโลยีดิจิทัล และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มนี้


7. ไทยผลักดันการเสริมพลังให้กลุ่มสตรี และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจอย่างแท้จริง และการเสริมสร้างความเป็นธรรมทางเพศ ควรได้รับการสนับสนุนในทุกระดับ  


8. เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นมิติใหม่ของการสร้างอาชีพ และการเจริญเติบโตในภูมิภาค เอเปคจึงเน้นให้การมุ่งไปสู่ดิจิทัลเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในปีนี้ เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจทั้งในและนอกภูมิภาค โดยร่วมมือกันเพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ซึ่งจะเป็นตัวเร่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญท่ามกลางการฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาด และส่งผลต่อการพัฒนาของภูมิภาคในระยะยาว โดยประเทศไทยจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลที่เป็นปัจจัยในการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ  


9. ปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัลมีมูลค่า 14% ของจีดีพี ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้าจะขยายให้เป็น 30% ภายในปี 2030  


10. ไทยจะเสนอให้ผู้นำเอเปครับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ในปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะกำหนดทิศทางของเอเปคไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน สนับสนุนความพยายามในการจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน ผลักดันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขยะให้เป็นศูนย์ ซึ่งความสำเร็จนี้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากภาคเอกชน และการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ภูมิภาคก้าวไปข้างหน้า และเติบโตไปด้วยกันสู่อนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง     


TNN Exclusive : APEC 2022 สรุป 10 ประเด็นสำคัญ ใน APEC CEO Summit 2022

"นับเป็นช่วงเวลาสำคัญของประเทศไทยที่ทั่วโลกจะมองมาที่เราในฐานะเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่มีบทบาทนำ ในการร่วมกำหนดนโยบายและบรรทัดฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก" 



 “ความร่วมมือที่เข้มแข็งและความมุ่งมั่นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม”


“ในขณะที่รัฐบาลสามารถดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่การปฏิรูปโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจและเศรษฐกิจ แต่ท้ายที่สุด ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นและสร้างสรรค์ของภาคเอกชนที่จะขับเคลื่อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าต่อไป” 



พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี



ข่าวแนะนำ