สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพจับมือ52หน่วยงาน ยกระดับแรงงานไทยเชื่อมฐานข้อมูลแรงงาน
“สุชาติ” ระบุ รัฐบาลมุ่งยกระดับคุณภาพฝีมือแรงงาน ขณะที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จับมือ 52 หน่วยงานยกระดับกำลังแรงงานไทยกว่า 38 ล้านคน เชื่อมโยงฐานข้อมูลบิ๊กดาต้าแรงงาน
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ “การพัฒนากำลังแรงงานในอนาคต” พร้อมกล่าวเปิดงาน “คุณวุฒิวิชาชีพ คุณวุฒิของคนทำมาหากิน” ที่จัดโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ที่สโมสรทหารบก วิภาวดีรังสิต
นายสุชาติ กล่าวว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ และยกระดับศักยภาพกำลังแรงงานของประเทศไทยในทุกมิติเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรและกำลังแรงงานของประเทศไทยในสาขาอาชีพต่างๆให้เป็นแรงงานคุณภาพ มีทักษะและความเชี่ยวชาญในระดับสูงได้การรับรองตามมาตรฐานอาชีพและได้รับคุณวุฒิวิชาชีพซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ของประเทศไทยได้พัฒนาตัวเองในช่องทางต่าง ๆ มีรายได้เพิ่มขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขอย่างยั่งยืนและได้รับคุณวุฒิที่เทียบเท่าคุณวุฒิทางการศึกษาในระดับต่างๆซึ่งเป็นเป้าหมาย สำคัญที่รัฐบาลจะดำเนินการรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเพื่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
จากสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 ประเทศไทยได้มีการบริหารจัดการได้ดีระดับต้น ๆ ของโลกได้รับการชื่นชมจากนานาชาติ จากการบริหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวควบคุมโควิด และภาคอุตสาหกรรมได้ใช้นโยบายแฟคทอรี่บับเบิ้ลแอนด์ซีลทำให้ไม่ต้องปิดโรงงาน ไทยจึงมีภาคการผลิตที่เข้มแข็ง ซึ่งในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อยากเห็นผู้ประกอบการที่ต้องการแรงงานและผู้ใช้แรงงาน มาพบกันโดยเร็วที่สุดและได้คนที่มีความสามารถตามที่ผู้ประกอบการต้องการ ทั้งนี้ การจะพัฒนาประเทศชาติให้เข้มแข็งนั้น คือการพัฒนาบุคลากรของชาติให้เข้มแข็งก่อน
โดยต้องพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งในและนอกระบบโดยตนเองได้จัดทำร่างพ.ร.บ.แรงงานนอกระบบ ซึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว และเสนอจัดทำกองทุนเพื่อดูแลแรงงานนอกระบบขึ้น โดยจะรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในการดูแลแรงงานนอกระบบแก้ปัญหาการกู้เงินนอกระบบของแรงงานได้ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่อเดินตามยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นทางออกและความมั่นคงของประเทศได้อย่างแท้จริง
ขณะที่นายนคร ศิลปอาชา ประธาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. กล่าวว่า สถาบันคุณวุฒิฯ ได้ เปิดโอกาสให้กำลังแรงงานทั้งในระบบ รวม กว่า 38 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีงานทำ 37.7 ล้านคน ที่ว่างานอีก 748,268 คนและเป็นแรงงานนอกฤดูอีกราว 200,000 คน ได้เข้าถึงการพัฒนาความรู้ทักษะความสามารถในการประกอบอาชีพด้วยการวัดระดับจะมาตรฐานอาชีพที่ถูกกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญเจ้าของอาชีพครอบคลุมทั้งธุรกิจบริการการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการผลิตและเกษตรสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การรับรองด้วยประกาศษณียบัตรคุณนวุฒิวิชาชีพซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าคุณวุฒิทางการศึกษา
พร้อมกันนี้ นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวด้วยว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีงานรัฐที่รองรับคนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อเปิดโอกาสให้กำลังแรงงานที่มีการวัดระยะจากมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญเจ้าของอาชีพต่าง ๆ มาเทียบได้กับระดับการศึกษาตั้งแต่ ประถมศึกษา จนถึง ระดับปริญญาตรี โดยจะออกใบประกาศนียบัตรให้
ทั้งนี้ พร้อมประกาศใช้พระราชบัญญัติจานุเบกษาซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 900 อาชีพ เฉพาะปี 2565 มีการจัดทำใหม่ 25 อาชีพเดิมให้ทันสมัยสอดคล้อง 84 อาชีพครอบคลุมธุรกิจท่องเที่ยว-บริการ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการเกษตร ซึ่งในปี 2565 ได้รับรองมอบใบประกาศนียบัตรให้บุคคลแล้วกว่า 18,000 บุคคล โดยสถาบันฯ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และสถานประกอบการต่าง ๆ มากขึ้น
นอกจากนี้ แรงงานสามารถอบรมทักษะ ความสามารถทางออนไลน์ E-Training สะสมคุณวุฒิไว้ใน E-Portfolio และขอรับใบประกาศทางแพลตฟอร์มได้ นายจ้างสามารถมาช็อปเลือกลูกจ้างได้ผ่านระบบนี้ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษา เข้าสู่การทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ สคช. จับมือ 52 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เชื่อมฐานข้อมูลกำลังแรงงานเพื่อการพัฒนากำลังของของประเทศด้วยระบบ EWE โดยเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้รับผิดชอบในกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) เรื่อง การพัฒนาระบบการบริหารจัดการกำลังคนของประเทศแบบบูรณาการ โดยในกิจกรรมปฏิรูปประเทศฯ ได้มีการพัฒนา E-Workforce Ecosystem Platform
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอัจฉริยะในการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนและการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย ที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านตลาดแรงงานอยู่บนโครงสร้างเดียวกัน โดย E-Workforce Ecosystem Platform ประกอบด้วยระบบ ได้แก่
- ระบบ E-portfolio เป็นการจัดเก็บข้อมูลของบุคคลอย่างเป็นระบบ อาทิ ข้อมูลประวัติการศึกษา การอบรม ประสบการณ์ทำงาน ทักษะที่บุคคลมีไว้ในที่เดียว
- ระบบ Education and Career Guidance Check เป็นการประเมินทักษะ ความรู้ของตนเองว่าต้องพัฒนาอะไรบ้าง (3) ระบบ E-Coupon เป็นระบบสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการ Up-skill Re-skill New-skill หรือต้องการพัฒนาเป็นอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3 โดยตรงไปยังผู้ใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการชำระเงิน ตรวจสอบ ติดตามผลได้ โดยจะอบรมผ่าน Accredited Training Programs ที่ได้รับการรับรอง
- ระบบ Digital Credit Bank หรือ Competency Credit Bank เป็นระบบการสะสมประสบการณ์เพื่อเชื่อมโยงภาคการศึกษา
- ระบบ Job Matching ระหว่างคนหางานและผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพ เกิดการจ้างงานทุกระดับอย่างเป็นธรรม ผู้ประกอบการได้แรงงานมีคุณภาพ มีทักษะฝีมือตรงตามความต้องการ จะเห็นได้ว่า E-Workforce Ecosystem Platform เป็นระบบที่ช่วยในการสร้างโปรไฟล์ เพื่อรองรับการเพิ่มทักษะ การมีงานทำ การศึกษาต่อได้ และยังเป็นกลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) อย่างเป็นรูปธรรม
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ และกำลังแรงงานในสถานประกอบการทุกท่าน เข้าใช้งานแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem เพื่อค้นหาข้อมูลด้านกำลังแรงงานของประเทศ และร่วมกันสร้างค่านิยมใหม่ให้สังคมเห็นคุณค่าของประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ โดยสามารถเข้าไปฝากประวัติผลงานในระบบ EWE ที่เว็บไซต์ https://ewe.go.th
ภาพจาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ