กรมวิทย์ฯเปิดผลทดสอบ "ปลูกฝี" กว่า 40 ปี มีภูมิคุ้มกัน "ฝีดาษลิง" หรือไม่?
กรมวิทย์ฯ เผย ผลทดสอบคนที่ปลูกฝีมานานกว่า 40 ปีจำนวน 28 รายไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส "ฝีดาษลิง" ทั้ง 2 สายพันธุ์ โดยกรมควบคุมโรคอยู่ระหว่างการทำแผนฉีดวัคซีนโรคฝีดาษให้กับกลุ่มเสี่ยง เบื้องต้นสั่งซื้อ 1,000 โดส
วันนี้( 5 ก.ย.65) ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึง ผลการทดสอบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ "ฝีดาษลิง" ในคน ที่ได้รับวัคซีนฝีดาษมากกว่า 40 ปี ซึ่งกรมวิทย์ฯได้เพาะเชื้อฝีดาษลิง ทั้ง 2 สายพันธุ์ B.1 และ A.2 โดยประเทศไทย 6 รายเป็นสายพันธุ์ A.2 และ 1 รายเป็น B.1 โดยสามารถเพาะเชื้อได้จำนวนมากพอที่จะทดสอบ สำหรับวัคซีนฝีดาษคน หยุดการฉีดตั้งแต่ปี 2523
วิธีการทดสอบ ในอาสาสมัคร 28 คน แบ่งอาสาสมัครตามช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุ 45-54 ปี , ช่วงอายุ 55-64 ปี , ช่วงอายุ 65-74 ปี โดยเอาน้ำเลือดมาจางลง จนถึงจุดที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 สัปดาห์ การวัดค่า หากค่าระดับไตเตอร์มากกว่า 32 ถือว่ามีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสฝีดาษลิงได้
ส่วนผลการทดสอบในน้ำเลือดคนติดเชื้อฝีดาษลิง ซึ่งมีภูมิธรรมชาตินั้น ผลพบว่า สามารถที่จะกันเชื้อ A.2 ได้มากกว่า B.1 ส่วนกลุ่มคนที่ไม่ได้รับวัคซีน และไม่เคยติดเชื้อ ตรวจทั้งหมด3 ราย
ภูมิน้อยมากต่อเชื้อฝีดาษลิง
สรุป คนที่ปลูกฝีมานานกว่า 40 ปีจำนวน 28 รายไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสฝีดาษลิงทั้ง 2 สายพันธุ์ โดยมี 2 รายพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ของไวรัสฝีดาษลิงได้
ขณะเดียวกันมี 1 รายมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ A.2 และ 1 รายมีภูมิคุ้มกันต่อทั้ง 2 สายพันธุ์
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนฝีดาษลิงโดยตรง แต่ที่นำมาใช้คือวัคซีนฝีดาษคน ได้ผลประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อฝีดาษลิงร้อยละ 85 ปัจจุบันมีวัคซีนรุ่น 3 ซึ่งไม่ต้องปลูกฝีสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ได้มีการอนุมัติการใช้ วิธีฉีดคือเข้าชั้นผิวหนัง เป็นตุ่มเม็ดถั่วเขียว ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร และชั้นใต้ผิวหนัง ปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร ซึ่งกรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดหา เบื้องต้นอยู่ประมาณ 1,000 โดส ราคายังค่อนข้างสูง ซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่มในการรับวัคซีนเป็น 2 กลุ่ม เช่นกลุ่มแรกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการที่อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ กับบุคคลทั่วไปที่มีประวัติเสี่ยง มีอาการ และสัมผัสผู้ติดเชื้อ ย้ำสถานการณ์ตอนนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่ทุกคนต้องได้รับวัคซีนโรคฝีดาษเพราะอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังอธิบายเพิ่มเติม ว่าสำหรับคนที่ฉีดวัคซีนโรคฝีดาษคนมาก่อนหน้านั้น หากจะให้ภูมิคงอยู่จะต้องมีการฉีดกระตุ้นทุก 3-5 ปี
สำหรับโรคฝีดาษลิง เกิดขึ้นปี 1958 พบครั้งแรกในลิงที่ติดเชื้อ จากนั้น 1970 พบในคนจากประเทศคองโกมีการติดเชื้อและต่อมาเป็นโรคประจำถิ่นแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก
ปี 2020 องค์การอนามัยโลกรายงานพบผู้ป่วยสงสัยมีการติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 4594 เสียชีวิต 171 กายซึ่งได้ทำการทดสอบยืนยันด้วยวิธี PCR พบว่ามีการติดเชื้อฝีดาษลิงจริง
จากนั้น 23 มิถุนายน 2022 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ สถานการณ์ล่าสุดจนถึงวันที่ 2 กันยายน มีผู้ป่วยยืนยัน 50,327 ราย เสียชีวิต 15 ราย พบกว่า 100 ประเทศ ถึงแม้จะพบกันติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่อัตราการเสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการขอเชื้อไวรัสฝีดาษดลิงที่กรมวิทย์ศาสตร์การแพทย์ได้ทำการเพาะขึ้นมา เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด ผลิตวัคซีนสำหรับโรคฝีดาษลิงโดยตรงซึ่งหากทำได้จริงก็จะทำให้ไทยมีวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงที่มีราคาถูก
ภาพจาก AFP