TNN "ฝีดาษลิง" โรคนี้ยากต่อการควบคุม ไม่แสดงอาการของโรคในระยะแรก

TNN

สังคม

"ฝีดาษลิง" โรคนี้ยากต่อการควบคุม ไม่แสดงอาการของโรคในระยะแรก

ฝีดาษลิง โรคนี้ยากต่อการควบคุม ไม่แสดงอาการของโรคในระยะแรก

"หมอยง" ชี้ "ฝีดาษลิง" โรคนี้ยากต่อการควบคุม เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับ HIV ไม่แสดงอาการของโรคในระยะแรก


วันนี้ (29 ก.ค.65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan โดยระบุว่า ฝีดาษวานร โรคที่ยากต่อการควบคุม 

ยง ภู่วรวรรณ   

ราชบัณฑิต 

คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

29 กรกฎาคม 2565

นับตั้งแต่การระบาดของโรคนอกทวีปแอฟริกา มีการกระจายเพิ่มขึ้นและมียอดผู้ป่วยสูงขึ้นมาโดยตลอด ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ปัจจุบันมีผู้ป่วยมากกว่า 17,000 ราย  มากกว่า 75 ประเทศ แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในยุโรปและอเมริกา

เป็นที่น่าสังเกตว่า การรายงานผู้ป่วยเข้าสู่องค์การอนามัยโลก จะไม่ยอมบอกเพศ ที่บอกเพศมีไม่ถึงครึ่งหนึ่ง และเป็นในเพศชายถึง 98 % กว่า เพศหญิงแค่ 1% ไม่มีผู้เสียชีวิตนอกแอฟริกา ที่เสียชีวิตจะอยู่ในทวีปแอฟริกาเพียง 5 ราย 

การติดต่อนอกทวีปแอฟริกา เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่จะเป็นเพศเดียวกัน และเกือบ 40% มีรอยโรคเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ 

โรคนี้จึงยากต่อการควบคุม เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับ HIV ในระยะแรกเมื่อ 40 ปีก่อน การเริ่มต้นก็แบบเดียวกัน  HIV ไม่แสดงอาการของโรคในระยะแรก กว่าจะแสดงอาการก็มีการแพร่กระจาย ติดต่อ ไปมากพอสมควร

ฝีดาษวานร ก็เช่นเดียวกัน อาการส่วนใหญ่ไม่มาก เมื่อมีอาการไม่มาก จึงยากในการควบคุม โดยเฉพาะ บางรายอาจจะไม่มีอาการ หรือตุ่มขึ้นเพียงเม็ด 2 เม็ดก็ได้ แต่ข้อดีของฝีดาษวานรมากกว่า HIV คือ ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่เรื้อรัง เป็นอยู่ประมาณ 2-4 อาทิตย์ ก็หายขาดเป็นปกติ ไม่เป็นพาหะของโรค 

ในอนาคตถ้าควบคุมไม่ได้ การกระจายโรค จะไม่อยู่ในเฉพาะเพศชายเท่านั้น จะกระจายเข้าสู่คนใกล้ชิด และเข้าสู่ระบบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้ควบคุมได้ยาก

สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อไปก็คือ แต่เดิมเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยเฉพาะสัตว์จำพวกพันธุ์แทะ เช่นหนู (giant gambian rat) ในแอฟริกา แต่ขณะนี้เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน และต่อไปถ้าคนเอาเชื้อนี้ข้ามไปยังสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ท้องถิ่น เช่นหนู แล้ว สัตว์จะเป็นพาหะ อยู่ในสัตว์ ก็จะยิ่งยากในการควบคุม และ การติดต่อ จากสัตว์จะข้ามมาสู่คนได้อีก โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะที่อยู่ในเมือง ก็จะทำให้เกิดเป็นโรคประจำถิ่น ที่ยากต่อการกำจัดหรือควบคุม



ข้อมูลจาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ