TNN เกาะกระแสปลดล็อกกัญชา ผลวิจัยชี้ ‘กัญชา’ อาจมีผลร้ายต่อสมองเด็กและวัยรุ่น

TNN

สังคม

เกาะกระแสปลดล็อกกัญชา ผลวิจัยชี้ ‘กัญชา’ อาจมีผลร้ายต่อสมองเด็กและวัยรุ่น

เกาะกระแสปลดล็อกกัญชา ผลวิจัยชี้ ‘กัญชา’ อาจมีผลร้ายต่อสมองเด็กและวัยรุ่น

เกาะกระแสปลดล็อกกัญชา ผลวิจัยมหาวิทยาลัยมอนทรีอัลชี้ ‘กัญชา’ อาจมีผลร้ายต่อสมองเด็กและวัยรุ่น ประสิทธิภาพการทำงาน-การเรียนลดลง

หลังปลดล็อกกัญชา แพทย์หลายคน เป็นห่วงการใช้กัญชา  เนื่องจากมี ผลวิจัยต่างประเทศ พบว่า นอกจากอาการมึนเมาหลังสูบกัญชาเป็นอันตรายต่อความสามารถในการรับรู้และตัดสินใจของสมอง หากกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาว ใช้บ่อย จะส่งผลเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าบางลง จะส่งผลระยะยาวเมื่อเป็นผู้ใหญ่ จะทำให้ความสามารถในการรับรู้และตัดสินใจเสื่อมถอย 

การศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้หลายชิ้นบ่งบอกว่าอาการมึนเมาหลังสูบกัญชาเป็นอันตรายต่อความสามารถในการรับรู้และตัดสินใจของสมอง ทว่าการทบทวนงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Addiction พบว่า ผลกระทบดังกล่าวอาจคงอยู่ยาวนานกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนวัยหนุ่มสาว

อเล็กซานเดอร์ ดูไมส์ รองศาสตราจารย์คลินิกด้านจิตเวชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมอนทรีอัล เผยว่า การใช้กัญชาในเยาวชนอาจส่งผลให้ความสำเร็จทางการเรียนหนังสือลดลง และในผู้ใหญ่อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ผลกระทบเหล่านี้อาจร้ายแรงขึ้นในกลุ่มผู้ที่ใช้เป็นประจำหรือติดกัญชาอย่างหนัก  

โดยงานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการวิจัยผู้คนกว่า 43,000 คนและพบผลกระทบในแง่ลบต่อการคิดในระดับที่สูงขึ้นของสมองของสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol) หรือ THC ที่เป็นสารประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในกัญชา ซึ่งตอนนี้พบการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกันมากที่สุดที่เกิดจากการใช้กัญชา ส่วนใหญ่เป็นการใช้แบบต่อเนื่องในช่วงวัยหนุ่มสาวในสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นำไปสู่การหยุดชะงักระยะยาวในการทำหน้าที่ตัดสินใจและบริหารจัดการต่างๆ ของสมอง งานวิจัยบางชิ้น ยังพบว่าวัยรุ่นที่เริ่มใช้กัญชาเร็วและบ่อยจะมีความสามารถในการรับรู้และตัดสินใจเสื่อมถอยเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้กระทบการรับรู้ ตัดสินใจเสื่อมถอย เครียดง่าย ไม่มีสมาธิ เรียนรู้ช้า

ที่สำคัญคือ ควันจากการสูบกัญชาที่มี THC นี้ สามารถทำให้คนรอบตัวได้รับสาร THC เข้าสู่ร่างกายได้ เป็นกัญชามือสอง เช่นเดียวกับบุหรี่มือสอง ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยสามารถตรวจพบสารและในบางการศึกษาพบว่าผู้ได้รับควันมือสองนี้มีอาการมึนเมาและอาการระคายเคืองจากควันร่วมด้วย

ข้อมูลจาก  :  montrealgazette

ภาพจาก :   AFP

ข่าวแนะนำ