TNN อาการฝีดาษลิง เป็นอย่างไร ติดต่อทางไหนได้บ้าง?

TNN

สังคม

อาการฝีดาษลิง เป็นอย่างไร ติดต่อทางไหนได้บ้าง?

อาการฝีดาษลิง เป็นอย่างไร ติดต่อทางไหนได้บ้าง?

เช็ก อาการฝีดาษลิง เป็นอย่างไร ติดต่อทางไหนได้บ้าง? หากพบเชื้อหรือเป็น “ผู้ป่วยยืนยัน” จะได้รับการรักษาและแยกกักจนครบ 21 วัน

วันนี้( 31 พ.ค.65) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงที่พบการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) เชื้อไวรัสฝีดาษลิง พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ 

อาการของโรคฝีดาษลิง 

นิยามผู้ป่วยสงสัยฝีดาษวานร คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการป่วยอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง หรือต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีอาการผื่น ตุ่มนูน ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นบริเวณใบหน้า ลำตัว และแขนขา โดยเป็นผื่นก่อนตามด้วยตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง และตุ่มตกสะเก็ด โดยต้องมี 1 ใน 2 อาการนี้ ร่วมกับประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยาภายใน 21 วัน คือ 

1.ประวัติเดินทางจากประเทศที่มีรายงานการระบาดโรคฝีดาษวานรภายในประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากแอฟริกา ยังมีแคนาดา อังกฤษ โปรตุเกส และสเปน 

2.ประวัติร่วมกิจกรรมในงานที่พบผู้ป่วยฝีดาษวานร หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้เดินทางมาจากต่างประเทศประจำ 

3.ประวัติใกล้ชิดสัมผัสสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่นำเข้าจากแอฟริกา

นิยามผู้ป่วยเข้าข่ายโรคฝีดาษวานร คือ ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด โดยสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังผู้ป่วย หรือสัมผัสสิ่งของเสื้อผ้าที่อาจปนเปื้อนของผู้ป่วย, เป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อาศัยอยู่ในห้องเดียวกันกับผู้ป่วย หรือใช้ห้องน้ำหรืออุปกรณ์ในห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วย หรือผู้สัมผัสที่อยู่ภายในห้องหรืออยู่ใกล้ผู้ป่วยฝีดาษวานร ในระยะ 2 เมตร ตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป 

ทั้งนี้ เมื่อได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยเข้าข่ายมารักษาในสถานพยาบาลจะตรวจคัดกรองและเก็บตัวอย่างจากแผลหรือลำคอ เพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR และพิจารณาแยกกัก เพื่อรอเวลาการตรวจหาเชื้อ หากไม่พบเชื้อฝีดาษวานรหรือเป็นโรคอื่นจะจบการแยกกัก แต่หากพบเชื้อหรือเป็น “ผู้ป่วยยืนยัน” จะได้รับการรักษาและแยกกักจนครบ 21 วัน นับจากวันที่เริ่มป่วย

ติดต่อในมนุษย์ได้อย่างไร

ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือ ตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือ จากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด


อาการฝีดาษลิง เป็นอย่างไร ติดต่อทางไหนได้บ้าง? ภาพจาก กทม.

 



ข้อมูลจาก กทม. / สธ.

ภาพจาก AFP/รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ