TNN ดีอีเอส จับมือ สกมช.ย้ำ เว็บไซต์ ป.ป.ช. ไม่ถูกเเฮ็ก

TNN

สังคม

ดีอีเอส จับมือ สกมช.ย้ำ เว็บไซต์ ป.ป.ช. ไม่ถูกเเฮ็ก

ดีอีเอส จับมือ สกมช.ย้ำ เว็บไซต์ ป.ป.ช. ไม่ถูกเเฮ็ก

ดีอีเอส จับมือ สกมช.ย้ำ เว็บไซต์ ป.ป.ช. ไม่ถูกเเฮ็ก ยืนยัน ระบบป้องกันข้อมูลรัฐดี




นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม ร่วมกับพลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ,นาวาอากาศเอก อมร  ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติและผู้อำนวยการศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ แถลงข่าว เรื่องเว็บไซต์สํานักงานป.ป.ช.มีข้อมูลรั่วไหล


โดยนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์กรณีที่มีนําเสนอข่าว มีข้อมูลทรัพย์สิน 780 บัญชี-เรื่องชี้มูล 1,366 คดี รั่วไหลไปยังเว็บไซต์ของหน่วยงานอื่น ของภาคเอกชน ซึ่งทำให้คนเข้าใจผิดว่า เว็ปไซด์ถูกแฮก ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และ สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้ร่วมกับ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบแล้วพบว่า เรื่องนี้ไม่ได้ถูกแฮก ไม่ได้ถูกโจมตี ระบบของป.ป.ช.ยังมีความมั่นคงปลอดภัย  โดยข้อมูลที่รั่วไหลออกไปเป็นข้อมูลที่ป.ป.ช.เป็นข้อมูลที่เปิดเผยอยู่แล้วตามกฎหมาย บัญชีทรัพย์สิน ข้อมูลมติชี้มูลความผิดซึ่งป.ป.ช.เปิดเผยอยู่แล้ว แต่มีบุคคลบางกลุ่ม นำข้อมูลนี้ไปเผยแพร่ต่อในเว็บไซด์ของกลุ่มบุคคลนั้นซึ่งทำให้เกิดความสับสน ข้อมูลอาจมีความคลาดเคลื่อน บิดเบือน เปลี่ยนแปลง ทางป.ป.ช.จึงได้มีการแจ้งเตือน ไม่ให้นำข้อมูลจากเว็บไซต์ดังกล่าวไปใช้ ให้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆจากเว็บไซต์ของป.ป.ช.เท่านั้นเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ ไม่ได้ถูกแฮก หรือโจมตี 


ด้านนาวาอากาศเอกอมร  ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติและ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า ในกรณีต่างๆเราได้ตรวจสอบพบเจอเหตุการณ์นี้ครั้งแรก วันที่ 13 มกราคม และหลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการตรวจสอบร่วมกับทาง ปปช. อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าจากข้อมูลที่พบเจอนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเปิดเผยอยู่แล้ว แล้วก็ตัวเว็บรวมทั้งระบบต่างๆของ ปปช.ยังมีความมั่นคงปลอดภัย แต่ในสิ่งที่ถูกสื่อออกไปว่ามีการถูกแฮกนั้นมันไปเกิดขึ้นกับตัวระบบของหน่วยงานอื่นที่ได้ดูดข้อมูลนี้ไปแล้วก็ก่อให้เกิดการเข้าใจผิด เพราะฉะนั้นในส่วนประเด็นนี้คือ ตัวองค์กรที่เกี่ยวข้องยังมีความมั่นคงปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ตามทาง สกมช กับทาง ดีอี ก็จะเตรียมการและเฝ้าระวังเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งประเด็นนี้และก็ประเด็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต 


นายชัยวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และทางสำนักงานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เราจะเฝ้าระวังติดตามปัญหาภัยคุกคามในโลกไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้มีการถูกโจมตีในหน่อยงานของรัฐทั้งหมด โดยต่อจากนี้ทางหน่วยงานหรือทางพี่น้องประชาชนถูกโจมตีหรือมีปัญหาถูกแฮ็กต่างๆก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ทางศูนย์เตือนภัยเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เจ้าหน้าที่ NCERT และ ncsa.or.th เรามีหน่อยงานรับเรื่องร้องเรียน และคอยช่วยประสานงานอยู่ตลอดเวลา

ข่าวแนะนำ