TNN สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมสื่อไทยแก้ปัญหาข่าวปลอม

TNN

สังคม

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมสื่อไทยแก้ปัญหาข่าวปลอม

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมสื่อไทยแก้ปัญหาข่าวปลอม

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์เปิดตัวโครงการ Stop Fake, Spread Facts จัดเสวนาหาทางออกหยุดการนำเสนอข่าวปลอม ชี้เฟคนิวส์แก้ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีภูมิคุ้มกัน



เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 ในงานเสวนา Stop Fake, Spread Facts หยุดข่าวปลอมด้วยข้อเท็จจริง ที่ Convention Hall ชั้น 2 อาคาร D ไทยพีบีเอสสำนักงานใหญ่ เพื่อหาทางออกในการหยุดการนำเสนอข่าวปลอม เพิ่มพื้นที่การสร้างสรรค์การสื่อสารข้อเท็จจริงออกไปให้มากที่สุด ด้วยวิธีการสื่อสารใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์ เราจะช่วยกันเผยแพร่ข่าวจริงได้อย่างไร


ในงานมี นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ที่ปรึกษา Co Fact ประเทศไทย , นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ , นายภูวสิษฏ์ สุขใส บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส, Songkhla Focus , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์นักวิชาการ และ นาย ธนภณ เรามานะชัย Trainer, Google News Initiative ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์


สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมสื่อไทยแก้ปัญหาข่าวปลอม


ทั้งนี้ นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ระบุว่า มีความยินดีกับการมีส่วนแก้ไขปัญหาเฟคนิวส์ ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถแก้ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขและหาทองออก รวมถึงเพื่อเป็นบรรทัดฐานของประเทศ 


สำหรับปัญหาข่าวปลอมหลายหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศพยายามแก้ไข สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์มีสมาชิกกว่า 40 ราย มียอดวิวเฉลี่ย 40% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศ ถือว่ามีศักยภาพในการช่วยจัดการปัญหานี้ได้ ที่ผ่านมาสื่อในสมาคมฯเองก็พยายามแก้ไขข้อเท็จจริงในข่าวสารต่างๆ แต่ข่าวปลอมส่วนใหญ่แพร่กระจายไปในวงกว้างด้วยความรวดเร็ว เราไม่สามารถแก้ต้นตอได้ แต่แก้การแพร่กระจายได้ 


สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมสื่อไทยแก้ปัญหาข่าวปลอม


อย่างไรก็ดี การรู้เท่าทันหรือมีความเข้าใจในเฟคนิวส์ ต้องยอมรับว่าในประเทศไทย มีคนส่วนน้อยที่เข้าใจตรงนี้ ไม่ได้เข้าใจกันทั้งประเทศ สุดท้ายสิ่งที่สื่อนำเสนอข้อมูลเรื่องเฟคนิวส์ออกไปอาจจะสื่อถึงแค่คนในกรุงเทพหรือหัวเมือง ซึ่งการเข้าถึงกลุ่มคนเชิงประชากรศาสตร์ทำได้ยาก ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ไปในทิศทางเดียวกัน 


สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน แล้วเชื่อมโยงกัน ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของทั้งประเทศ โดยไทยยังไม่มีเครื่องมือในการจัดการกับเฟคนิวส์เป็นของตัวเอง หน่วยงานรัฐจึงต้องเข้ามาช่วยสนับสนุน


สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมสื่อไทยแก้ปัญหาข่าวปลอม



พร้อมกันนี้สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ยังได้เปิดตัวโครงการ Stop Fake, Spread Facts ซึ่งเป็นโครงการที่ทางสมาคมฯได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ( กทปส.) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัญญ์ทิตา  ชนะชัยภูวพัฒน์ หัวหน้าโครงการฯกล่าวว่า  โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สังคมตระหนักรู้ในปัญหาข่าวปลอม เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับภาคสื่อ และภาคประชาชนทั่วประเทศ โดยใช้กลยุทธ์ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแพร่กระจายข่าวสาร ข้อเท็จจริงเชิงสร้างสรรค์ ลดข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ โดยเริ่มจากการวิจัยวิเคราะห์สภาพปัญหาทั้งในและต่างประเทศ จัดระดมความคิดเห็น  ผลิตคู่มือสำหรับสื่อและประชาชน และนำแนวคิดที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารควบคู่กับกิจกรรมการรณรงค์ที่ใช้ชื่องานว่า “Fact-Story Festival” ที่จะจัดให้กับสื่อและประชาชนผู้รับสารทั่วประเทศอีกด้วย.





ข่าวแนะนำ