บทสวดมนต์ กรณียเมตตสูตร
บทสวดมนต์ข้ามปี2567 บทที่ 10 กรณียเมตตสูตร บทพระสูตรว่าด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิต เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระภิกษุให้แผ่เมตตาจิตไปในมวลสรรพสัตว์ ตลอดจนเทพเทวา ภูตผี ปีศาจทั้งหลาย
บท กรณียเมตตสูตร
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ
ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ
สุวะโจจัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ
อัปปะคัพโภกุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเรกิญจิ
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา
มัชฌิมา รัสสะกา อะนุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นังกิญจิ
พ๎ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา
นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง
อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิสัพพะภุเตสุ
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง
มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธังอะโธ จะ ติริยัญจะ
อะสัมพาธังอะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา
สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ
สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ
คำแปล
ภิกษุผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ประสงค์จะบรรลุแดนสงบ (พระนิพพาน) พึงทำตน (ตามหลักไตรสิกขา) ภิกษุนั้นพึงเป็น ผู้อาจหาญซื่อตรง มีความมุ่งมั่น ว่าง่ายอ่อนโยน หมดความยึดถือตัว (ไม่มีอคติมานะ)
อนึ่ง ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจธุระน้อย ดำเนิน ชีวิตเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีอินทรีย์สงบ มีปัญญาพาตัวรอด ไม่คะนอง กายวาจา ไม่พัวพันกับตระกูลทั้งหลาย (ไม่ประจบเอาใจพวกคฤหัสถ์) ที่ร่้ารวยหรือมีอ้านาจ
ไม่พึงประพฤติสิ่งเล็กน้อยอะไร ที่จะเป็นเหตุให้ผู้รู้ตำหนิ (พึงแผ่เมตตาจิตไปในสรรพสัตว์ว่า) ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุข กายสุขใจ ปลอดพ้นจากภัยทั้งปวง ท้าตนให้ถึงสุขเถิด
สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ทั้งที่เป็นผู้หวาดสะดุ้ง (มีกิเลส) ทั้งที่ มั่นคง (หมดกิเลส) บรรดามีทั้งหมด ทั้งที่มีกาย ยาวใหญ่ ปานกลาง สั้นละเอียดหรือหยาบ
ทั้งที่เคยเห็นหรือไม่เคยเห็น ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ ทั้งที่เกิด แล้วหรือที่ก้าลังแสวงหาที่เกิด ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นจงมีความสุข กายสุขใจเถิด
เกิดเป็นคนไม่พึงหลอกลวงกัน ไม่พึงดูหมิ่นกันในที่ไหน ๆ ไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน หรือมีใจมุ่งร้ายปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
มารดาถนอมบุตรคนเดียวของตนด้วยชีวิตฉันใด บุคคลพึง เจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวงฉันนั้น ๒๖
บุคคลพึงเจริญเมตตาจิตอันไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต ไม่มี เวรไม่มีศัตรู ในสัตว์โลกทั้งหมด ในอรูปภูมิเบื้องต้น (อรูปพรหม ๔) ในรูปภูมิเบื้องกลาง (รูปพรหม ๑๖) และกามาวจรภูมิเบื้องต่ำ (เทวโลก มนุษยโลก อบายภูมิ)
ผู้เจริญเมตตาจิตเช่นนี้นั้น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด จะยืน เดินนั่งหรือนอนอยู่ก็ตาม จะเป็นผู้ปราศจากความท้อแท้เหนื่อย หน่าย จะตั้งสติไว้ได้นานตราบเท่าที่ต้องการ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสการอยู่ด้วยเมตตาเช่นนี้ว่า เป็นความประพฤติที่ประเสริฐใน พระศาสนานี้
บุคคลผู้แผ่เมตตาจิตนั้น จะไม่ถล้าเข้าสู่ความเห็นผิด เป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยความเห็นชอบ เมื่อขจัดความยินดีใน กามทั้งหลายได้แล้ว ย่อมไม่กลับมาสู่การเกิดในครรภ์อีกครั้งแน่นอน (ส้าเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานไปในที่สุด)
ดาวน์โหลด บทสวดมนต์ข้ามปี โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ที่นี่ >> บทสวดมนต์ ดาวน์โหลด
ภาพจาก : AFP
ข้อมูลจาก : สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ