บทสวดมนต์ รตนสูตร แสดงอานุภาพพระรัตนตรัย
บทสวดมนต์ข้ามปี2567 บทที่ 9 รตนสูตร บทที่แสดงอานุภาพของพระรัตนตรัยโดยตรง เมื่อเทวดาและมนุษย์รู้คุณค่าของพระรัตนตรัย ยอมรับนับถือ บูชาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก
บทรตนสูตร
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ ฯ
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
คำแปล
หมู่ภูตผีปีศาจประจำถิ่นทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่ในเมืองนี้ก็ดี ที่ประชุมกันอยู่ในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตผีปีศาจทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดี และจงฟังธรรมของพระตถาคตเจ้าที่เรากล่าวแล้วนี้ โดยเคารพเถิด เพราะเหตุนี้ที่ท่านทั้งหลาย เป็นผู้มีใจดีอย่างนี้นั้นแล ท่านภูตผีปีศาจทั้งหลาย จงตั้งใจฟัง แล้วกระทำไมตรีจิตในชุมชนหมู่มนุษย์ ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาหมู่มนุษย์ผู้ซึ่งสังเวยท่านด้วยพลีกรรมทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ
ทรัพย์อันทำให้ยินดีและปลื้มใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือว่ารัตนะอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์หรือรัตนะนั้น ๆ ที่จะวิเศษเสมอด้วยพระตถาคตเจ้านั้นไม่มีเลย คุณวิเศษแม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระศรีศากยมุนีเจ้า ผู้มีพระทัยดำรงตั้งมั่น ได้บรรลุถึงความสิ้นไปแห่งกิเลสและความสิ้นไปแห่งราคะ อันเป็นอมตธรรมอันประณีตแล้ว สิ่งวิเศษใด ๆ จะเสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี คุณวิเศษแม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญสมาธิว่าเป็นธรรมอันสะอาด และบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า สมาธิเป็นครุธรรมอันให้ผลโดยลำดับสม่ำเสมอ คุณธรรมอื่น ๆ ที่จะเสมอด้วยสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น ย่อมไม่มี คุณวิเศษแม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระอริยบุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ ที่สัตบุรุษสรรเสริญแล้วนั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทานที่หมู่ชนนำมาถวาย ทานทั้งหลายที่ถวายในพระอริยบุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ เหล่านั้นย่อมมีผลมาก คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระอริยบุคคลทั้งหลายในศาสนาของพระสมณโคดมเจ้า เป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรดีแล้ว มีใจมั่นคง มีความใคร่ออกไปแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ถึงอรหัตผลที่ควรถึง ได้หยั่งจิตเข้าสู่นิพพาน แล้วได้ความดับกิเลสโดยง่าย แล้วจึงเสวยผลที่ได้นั้นอยู่ตลอดกาล คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
เสาเขื่อนที่ฝังลงดินแล้วย่อมไม่หวั่นไหวสั่นสะเทือนด้วยลมพายุจาก ๔ ทิศ ฉันใด เราตถาคต ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปัญญาอันหยั่งลงเห็นอริยสัจทั้งหลายว่าเป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม มีอุปมาแม้ฉันนั้น คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระโสดาบันผู้กระทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย ที่พระตถาคตเจ้าผู้มีพระปัญญาอันลึกซึ่งทรงแสดงไว้ดีแล้ว แต่พระโสดาบันนั้นก็ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ก่อกรรมเป็นเหตุให้ถือเอาการเกิดในภพชาติอีกอย่างแน่นอน คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็นด้วยปัญญานั้นเทียว อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔ แล้ว เป็นผู้ไม่อาจเพื่อจะกระทำอติมานะ คือเหตุแห่งความฉิบหายอันยิ่งใหญ่ ทั้ง ๖ ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ และการไปเข้าจารีตศาสนาอื่นได้อีกต่อไป คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระโสดาบันนั้นยังกระทำบาปกรรมเล็กน้อย ด้วยกายหรือวาจาใจบ้าง แม้เพราะเหตุคือ การทำบาปกรรมแม้เล็กน้อยนี้ ก็ไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้แล้วว่า พระโสดาบันเป็นผู้เห็นทางพระนิพพานแล้ว จึงไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันเล็กน้อยนั้น คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พุ่มไม้ในป่า ออกยอดบานในระยะต้นเดือน ที่อากาศเริ่มร้อนแห่งฤดูร้อนฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐ เป็นทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย มีอุปมาฉันนั้น คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้ธรรมอันประเสริฐ ทรงให้ธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้นำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ยอดเยี่ยมหาผู้อื่นในโลกเทียบไม่ได้ ได้ทรงแสดงซึ่งพระธรรมอันประเสริฐแล้ว คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
กรรมเก่าของพระอริยบุคคลทั้งหลายสิ้นแล้ว กรรมอันแต่งให้เกิดใหม่ย่อมไม่มี พระอริยบุคคลเหล่านั้น สิ้นพืชคือตัณหาคือเหตุให้เกิดแล้ว ไม่มีความพอใจในภพอีกแล้ว เป็นผู้มีปัญญา ย่อมดับกิเลสไม่มีเชื้อเหลือไปแล้วฉะนั้น คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
หมู่ภูตผีปีศาจประจำถิ่นทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ก็ดี ที่ประชุมกันอยู่ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงพากันนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น ซึ่งเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี ฯ
หมู่ภูตผีปีศาจประจำถิ่นทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ก็ดี ที่ประชุมกันอยู่ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงพากันนอบน้อมพระธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี ฯ
หมู่ภูตผีปีศาจประจำถิ่นทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ก็ดี ที่ประชุมกันอยู่ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงพากันนอบน้อมพระอริยสงฆ์ผู้มาแล้วอย่างนั้น ซึ่งเป็นธรรมที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี ฯ
ดาวน์โหลด บทสวดมนต์ข้ามปี โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ที่นี่ >> บทสวดมนต์ ดาวน์โหลด
ภาพจาก : AFP
ข้อมูลจาก : หนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)