TNN นาซาปล่อยยานสกัดวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก

TNN

วิทยาศาสตร์

นาซาปล่อยยานสกัดวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก

นาซาปล่อยยานสกัดวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก

นาซาปล่อยยานด้วยจรวดขับดันของสเปซเอ็กซ์ เพื่อเปลี่ยนวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อย ไม่ให้พุ่งชนโลก

วันนี้ ( 24 พ.ย. 64 )องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ  ( NASA )  ปล่อยยานอวกาศในรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อให้ยานดังกล่าวเปลี่ยนวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อย  ไม่ให้มีโอกาสได้พุ่งชนโลก  ภารกิจครั้งนี้ของ NASA  เป็นการพิสูจน์ระบบป้องกันโลกครั้งแรก

โดยยานอวกาศดาร์ท ( Dart ) หรือ The Double Asteroid Redirection Test  พร้อมด้วยจรวดขับดัน ฟัลคอน 9 ของสเปซเอ็กซ์  ทะยานสู่ท้องฟ้ายามค่ำคืนในเวลา 22.21 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐฯ ของวันอังคาร  จากฐานทัพอวกาศแวนเดนเบิร์ก ห่างจากนครลอสแองเจลิสไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 240 กิโลเมตร  การปล่อยยานครั้งนี้ มีการถ่ายทอดทางทีวี NASA ด้วย

นาซาปล่อยยานสกัดวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก

ดาร์ท  มีขนาดเท่ากับรถยนต์ขนาดเล็ก  เริ่มการเดินทางเป็นเวลา 10 เดือน เพื่อเข้าสู่ห้วงอวกาศลึก  เมื่อถึงเวลานั้น ดาร์ทจะเข้าปรับเปลี่ยนวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อย  ไม่ให้พุ่งชนโลกในอนาคต  ยานอวกาศดาร์ท ติดตั้งกล้อง เพื่อบันทึกภาพ ราว 10 วัน ก่อนการชนดาวเคราะห์น้อย  และจะเก็บรวบรวมภาพ กับข้อมูลของการชนด้วย   ยานอวดาศดาร์ท ถูกออกแบบไม่ให้สร้างความเสียหายต่อดาวเคราะห์น้อย   แต่มีหน้าที่ทำให้ดาวเคราะห์น้อยเปลี่ยนวิถีโคจร หลังจากนั้นจะส่งภาพกลับมายังโลก

เป้าหมายของดาร์ท คือดาวเคราะห์น้อย Moonlet  หรือที่เรียกกันว่า Dimorphos   ขนาดเท่าสนามฟุตบอล และยานอวกาศดาร์ท เดินทางด้วยความเร็ว 24,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  ซึ่งเป็นความเร็วที่เพียงพอต่อการชนดาวเคราะห์น้อย เพื่อให้เปลี่ยนวิถีโคจร

อย่างไรก็ตาม  ความน่าจะเป็นที่ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลก อยู่ที่ 0.1 %  และมีโอกาส 70 %  ที่ดาวเคราะห์น้อยจะตกลงในมหาสมุทร


นาซาปล่อยยานสกัดวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก


นาซาปล่อยยานสกัดวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก


นาซาปล่อยยานสกัดวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก



ข้อมูลจาก : รอยเตอร์ 

ภาพจาก :    รอยเตอร์ 

ข่าวแนะนำ