TNN นาซาเผย 4 คลิปเสียงใหม่บนดาวอังคาร เผยบรรยากาศนอกโลก

TNN

วิทยาศาสตร์

นาซาเผย 4 คลิปเสียงใหม่บนดาวอังคาร เผยบรรยากาศนอกโลก

นาซาเผย 4 คลิปเสียงใหม่บนดาวอังคาร  เผยบรรยากาศนอกโลก

นาซาเปิดคลิปเสียงใหม่ครั้งแรกบนดาวอังคารจากไมโครโฟนของอุปกรณ์ "ซุปเปอร์แคม" เป็นเสียง ขับรถสำรวจบนดาวอังคาร

วันนี้ ( 18 มี.ค. 64 )รถสำรวจ "เพอร์เซเวียแรนซ์"ขององค์การนาซา ที่เริ่มปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคาร ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม  2564 และได้เคลื่อนตัวครั้งแรกในวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ได้เดินทางมาจากจุดลงจอดได้มากกว่า 70 เมตรแล้ว

 นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ติดตั้งกล้อง"ซุปเปอร์แคม"(SuperCam)เครื่องมือตรวจจับระยะไกลสำหรับสำหรับวิเคราะห์หิน และดินจากระยะไกล ซึ่งได้ติดตั้งไมโครโฟนเก็บเสียงเพิ่มเติม จากเดิมที่ยานสำรวจลำก่อนอย่าง"คิวริออซิตี" ไม่มี   ล่าสุด ได้เผยคลิปเสียงใหม่  ขณะที่รถสำรวจ "เพอร์เซเวียแรนซ์"ขับรถข้ามกรวดหินต่างๆบนดาวอังคาร  เป็นครั้งแรก  

นาซาเผย 4 คลิปเสียงใหม่บนดาวอังคาร  เผยบรรยากาศนอกโลก

นอกจากนี้  นาซายังได้เปิด คลิปเสียงใหม่ อีก 3 แบบ จากรถสำรวจ "เพอร์เซเวียแรนซ์ ได้แก่  เสียงบรรยากาศสิ่งแวดล้อมทั่วไปบนดาวอังคาร เสียงลมบนดาวอังคาร และเสียงการทำงานของเลเซอร์ ที่ยิงหินบนดาวอังคาร ที่มีการตั้งชื่อว่า ก้อนหินมาอัส (Máaz)  หินก้อนแรกที่เพอร์เซเวียแรนส์ได้สำรวจ  


ซึ่งระหว่างที่งเลเซอร์ไปที่ก้อนหิน อุปกรณ์ไมโครโฟนที่อยู่บนยาน ก็บันทึกเสียงที่ดังเป็นช่วง ๆ ตามจังหวะการยิงเลเซอร์ ประมาณ 30 ครั้ง จากระยะห่าง 3.1 เมตร ก้อนหินบริเวณที่แสงเลเซอร์ตกกระทบได้รับพลังงานมากจนกลายเป็นไอ แล้วเกิดคลื่นกระแทกขึ้นในบรรยากาศเบาบางของดาวอังคาร  ทั้งนี้เสียงที่เกิดขึ้นดังกล่าวสามารถนำไปใช้ศึกษาโครงสร้างของก้อนหินเป้าหมายที่ยิงเลเซอร์ได้


สำหรับภารกิจ "Mars 2020 Perseverance rover" ประกอบด้วยกล้องเลเซอร์ 2 ตัว และสเปกโตรมิเตอร์ 4 ตัว เพื่อค้นหาสารประกอบอินทรีย์บนก้อนหินดาวอังคาร


การได้ยินเสียงเลเซอร์ยิงหินบนดาวอังคาร นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกระแสความสนใจให้กับภารกิจนี้ ยังเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้กับนักวิทยาศาสตร์ นอกเหนือจากข้อมูลการสำรวจด้วยเลเซอร์ความละเอียดสูงที่ทำให้รู้ถึงโครงสร้าง ความหนาแน่นของหินและชั้นดิน

 

ปัจจุบัน รถสำรวจเพอร์เซเวียแรนส์ บนพื้นผิวดาวอังคาร ขณะนี้ยานสำรวจกำลังตามหาพื้นที่สำหรับทดสอบการบินของเฮลิคอปเตอร์น้อย อินเจนูอิตี จะรวบรวมตัวอย่างดินและหินเก็บใส่ท่อปิดผนึก ส่งกลับมายังโลกภายในทศวรรษปี 2030.

ข่าวแนะนำ