TNN ค้นพบดาวเคราะห์ “ลูกตา” ห่างจากโลก 50 ปีแสง โอกาสสูงที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้

TNN

วิทยาศาสตร์

ค้นพบดาวเคราะห์ “ลูกตา” ห่างจากโลก 50 ปีแสง โอกาสสูงที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้

ค้นพบดาวเคราะห์ “ลูกตา” ห่างจากโลก 50 ปีแสง โอกาสสูงที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้

กล้องโทรทรรศอวกาศเจมส์เว็บบ์ ค้นพบดาวเคราะห์ที่มีลักษณะเหมือนลูกตา ซึ่งบริเวณที่เหมือนลูกตานั้น แท้จริงคือ ทะเลน้ำแข็ง ทำให้ดาวเคราะห์นี้มีศักยภาพที่มนุษย์จะเข้าไปอาศัยได้

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะนี้ มีชื่อว่า LHS-1140B ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2017 ในเวลานั้น นักดาราศาสตร์คิดว่ามันเป็นเหมือนแค่ดาวเนปจูนขนาดย่อม ๆ แต่การค้นพบใหม่ล่าสุด ตามงานศึกษาวิชาการที่ใกล้จะตีพิมพ์ออกมา ชี้ว่า ดาวเคราะห์นี้ มีความเป็นน้ำแข็งและความชื้นมากกว่าที่เคยคิดมา นั่นหมายความว่า มันอาจเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต


“นี่อาจเป็นดาวเคราะห์ทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะยืนยันการพบน้ำในสภาพของเหลวบนพื้นผิวของโลกเอเลียนนอกระบบสุริยะของเรา” ชาร์ลส์ คาดิอุกซ์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้ประพันธ์แรกของรายงานดังกล่าว ระบุในแถลงการณ์ 


แล้วดาวเคราะห์ LHS-1140B อยู่ที่ไหน มันอยู่ห่างจากโลก 50 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าโลกของเรา 1.73 เท่า แต่มีมวลมากกว่าโลกถึง 5.6 เท่า 


ดาวเคราะห์นี้ ค่อนข้างอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ทำให้การโคจรรอบดาวฤกษ์ของมัน ค่อนข้างมีระดับความเร็วเท่ากับการหมุนของดาวฤกษ์เลย 


ที่น่าสนใจคือ 1 ปีบนดาวเคราะห์ดวงนี้ จะเท่ากับ 25 วันของโลกเราเท่านั้น 


การใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ ทำให้พบว่า บริเวณที่เสมือนม่านตาของดาวเคราะห์นี้ มีอุณหภูมิสูงได้ถึง 20 องศาเซลเซียสบนพื้นผิว นั่นหมายความว่า อบอุ่นพอที่สัตว์น้ำจะอาศัยอยู่ได้ แม้พื้นผิวส่วนใหญ่ของดาวจะเป็นน้ำแข็งก็ตาม ไม่เพียงเท่านั้น นักดาราศาสตร์ยังพบสัญญาณการดำรงอยู่ของไนโตรเจน และอาจรวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย


อ้างอิง: https://nouvelles.umontreal.ca/en/article/2024/07/08/found-with-webb-a-potentially-habitable-world/

ข่าวแนะนำ