TNN ดาวเคราะห์น้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 250 ฟุต กำลังพุ่งมายังโลกด้วยความเร็วสูง!

TNN

วิทยาศาสตร์

ดาวเคราะห์น้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 250 ฟุต กำลังพุ่งมายังโลกด้วยความเร็วสูง!

ดาวเคราะห์น้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 250 ฟุต กำลังพุ่งมายังโลกด้วยความเร็วสูง!

นาซา เผย "ดาวเคราะห์น้อย" ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 250 ฟุต หรือ เทียบเท่าอนุสาวรีย์เทพีสันติภาพ กำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้ามายังโลกด้วยความเร็วสูง

ดาวเคราะห์น้อย 2024 เอ็มที 1 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 250 ฟุต กำลังพุ่งเข้าหาโลกด้วยความเร็ว 65,232 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ของสหรัฐฯ รับประกันไม่มีภัยคุกคามพุ่งเข้าชนโลก และจุดที่จะเข้าใกล้โลกมากที่สุด ยังห่างมากถึง1,500,000 กิโลเมตร หรือ มากว่า 4 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์  


สำหรับ ดาวเคราะห์น้อย 2024 เอ็มที 1  เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดาวเคราะห์น้อย อะพอลโล ที่ตั้งชื่อตามดาวเคราะห์น้อย อะพอลโล 1862 ที่ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน คาร์ล ไรน์มุธ   ถูกค้นพบครั้งแรกโดยระบบเตือนภัยดาวเคราะห์น้อยที่จะส่งผลกระทบต่อโลก หรือ เอทีแอลเอเอส ที่สถานีสังเกตการณ์ซูเธอร์แลนด์ ขององค์การนาซ่า ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่รับหน้าที่ตรวจสอบและติดตามดาวหางและดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก


แม้ขนาดและความเร็วของการเคลื่อนตัวของดาวเคราะห์น้อย 2024 เอ็มที1 จะยังสร้างความวิตกให้กับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก องค์การนาซา ยังมีสำนักงานประสานงานการป้องกันโลกที่ร่วมมือกับหลายประเทศ สำนักงานด้านอวกาศและสถาบันวิจัยทั่วโลก เพื่อสร้างกลไกในการหักเหทิศทางดาวเคราะห์น้อย ไม่ให้พุ่งเข้าชนโลกรวมทั้งมีระบบบริหารจัดการและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  


ปัจจุบัน ศูนย์ทดลองการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ไอพ่น  หรือ เจพีแอลของนาซ่า สำนักงานอยู่ที่เมือง พาซาเดนา รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ กำลังเฝ้าติดตามแกะรอยเส้นวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย 2024 เอ็มที1  โดยเจพีแอลระบุด้วยว่า การพุ่งเข้าใกล้โลกของดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยเกิดขึ้นทุก10ปี หรือ 20ปี แต่จะเป็นโอกาสอันดีที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ตรวจสอบโครงสร้างและส่วนประกอบของดาวเคราะห์น้อยหายากเหล่านี้ เพื่อศึกษาต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะต่อไป


นอกจากดาวเคราะห์น้อย 2024 เอ็มที1 ที่เคลื่อนผ่านโลกในวันที่ 8 ก.ค. แล้วยังจะมีดาวเคราะห์ที่จะเคลื่อนผ่านโลกภายในวันที่ 16 ก.ค. อีกรวม 4 ดวง และเช่นเดียวกัน ดาวเคราะห์เหล่านี้ อยู่ระยะปลอดภัยจากโลก




ข่าวแนะนำ