TNN 24 กุมภาพันธ์ 2567 คืนวันมาฆบูชา เกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี”

TNN

วิทยาศาสตร์

24 กุมภาพันธ์ 2567 คืนวันมาฆบูชา เกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี”

24 กุมภาพันธ์ 2567 คืนวันมาฆบูชา เกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี”

24 กุมภาพันธ์ 2567 คืนวันมาฆบูชา เกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี” ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย

24 กุมภาพันธ์ 2567 คืนวันมาฆบูชา เกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี” ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา ดวงจันทร์เต็มดวงโคจรอยู่ในระยะไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือเรียกว่า ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon) เวลาประมาณ 19:32 น. มีระยะห่างจากโลกประมาณ 405,909 กิโลเมตร 


คืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเพียงเล็กน้อย เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ คือ ช่วงเย็นของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:22 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออก สังเกตการณ์ได้ตลอดคืน จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 25 กุมภาพันธ์


วันขึ้น 15 ค่ำ หรือ วันเพ็ญ คือวันที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หันด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์เข้าหาโลก ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงอาทิตย์ลับของฟ้าทางทิศตะวันตก ดวงจันทร์เต็มดวงจะขึ้นทางทิศตะวันออก ดังนั้น ในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง จะไม่สามารถสังเกตดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน ดวงจันทร์จึงจะกลับมาเต็มดวงอีกครั้ง


อย่างไรก็ตาม ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลา 27.3 วัน ส่งผลให้ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก แต่ทว่า ณ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด หรือไกลโลกที่สุด อาจไม่ใช่วันที่ดวงจันทร์เต็มดวงก็ได้ นักดาราศาสตร์จึงใช้ “ช่วงที่สามารถเห็นดวงจันทร์เต็มดวง” มากำหนดวันเกิดปรากฏการณ์ ที่เกี่ยวกับตำแหน่งการโคจรของดวงจันทร์ใกล้โลก และไกลโลกที่สุดซึ่งตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร 


ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติในคืนไกลโลกนั้น นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์


สำหรับปีนี้ ปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) จะเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา 17 ตุลาคม 2567 มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,358 กิโลเมตร เวลา 18:28 น. ดวงจันทร์จะปรากฏสว่างเด่นเต็มดวง และมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย สามารถติดตามข้อมูลได้ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ


24 กุมภาพันธ์ 2567 คืนวันมาฆบูชา เกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี”

ภาพจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ




ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ / AFP




ข่าวที่เกี่ยวข้อง