TNN เปิดลิงก์ชมสด “สุริยุปราคา” เหนือฟ้าเมืองไทย มองเห็นได้บ้างพื้นที่

TNN

วิทยาศาสตร์

เปิดลิงก์ชมสด “สุริยุปราคา” เหนือฟ้าเมืองไทย มองเห็นได้บ้างพื้นที่

เปิดลิงก์ชมสด “สุริยุปราคา” เหนือฟ้าเมืองไทย มองเห็นได้บ้างพื้นที่

เปิดลิงก์ชมสด “สุริยุปราคาบางส่วน” ปรากฏเหนือท้องฟ้าเมืองไทย เริ่มเวลา 10.22 น. มองเห็นได้แค่บางจังหวัด

วันนี้ ( 20 เม.ย. 66 )เปิดลิงก์ชมสดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” เหนือท้องฟ้าเมืองไทย โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเริ่มในเวลา ประมาณ 10:22 - 11:43 น. โดยประเทศไทยสังเกตได้เพียงบางพื้นที่เท่านั้น ได้แก่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล สงขลา พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช กระบี่ และบางส่วนของจังหวัดตราด อุบลราชธานี และศรีสะเกษ

ลิงก์ชมสดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” 

www.facebook.com/NARITpage/videos/1164840877523343

ข้อควรระวังในการชมปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” 

 สำหรับผู้สนใจชมปรากฏการณ์ในครั้งนี้ ห้ามสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่า แว่นกันแดด ฟิล์มเอ็กซ์เรย์ หรือแผ่นซีดี 

นื่องจากแสงอาทิตย์สามารถทะลุผ่านและทำลายเซลส์ประสาทตาจนตาบอดได้ ควรสังเกตการณ์ผ่านอุปกรณ์เฉพาะ ที่มีคุณสมบัติกรองแสงได้อย่างปลอดภัย อาทิ แว่นตาดูดวงอาทิตย์ทำจากแผ่นกรองแสงพอลิเมอร์ดำ แผ่นกรองแสงอะลูมิเนียมไมลาร์ กระจกแผ่นกรองแสงสำหรับหน้ากากเชื่อมโลหะเบอร์ 14 หรือมากกว่า และอุปกรณ์สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ทางอ้อม เช่น การดูเงาของแสงอาทิตย์ผ่านฉากรับภาพ หรือใช้หลักการของกล้องรูเข็ม ซึ่งเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยไม่เกิดอันตรายต่อดวงตา และยังสามารถดูปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ทีละหลายคน

หากสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ต้องเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ติดฟิลเตอร์กรองแสงดวงอาทิตย์เท่านั้น เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์มีเลนส์รวมแสงทำให้แสงอาทิตย์ทวีกำลังมากขึ้น เป็นอันตรายอย่างยิ่งแก่ดวงตา

เปิดลิงก์ชมสด “สุริยุปราคา” เหนือฟ้าเมืองไทย มองเห็นได้บ้างพื้นที่

จุดสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” 

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา 09:00-12:00 น. (ช่วงเวลาเกิดปรากฏการณ์ 10:31-11:33 น.) จะเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเว้าแหว่งมากที่สุดร้อยละ 1.82 (เวลาประมาณ 11:01 น.) โดยจัดเตรียมอุปกรณ์ดูดวงอาทิตย์อย่างปลอดภัยไว้บริการประชาชน ผู้สนใจเข้าร่วมฟรี! ลงทะเบียนร่วมงานที่ https://bit.ly/41rOwZT ลุ้นรับแว่นดูดวงอาทิตย์ภายในงาน (จำนวนจำกัด) 

ข้อมูลจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพจาก :  NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวแนะนำ