TNN พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

TNN

วิทยาศาสตร์

พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

นักวิทยาศาสตร์เร่งดำเนินโครงการฟื้นคืนชีพ "ช้างแมมมอธ"ซึ่ง ถือเป็นสัตว์ในโลกดึกดำบรรพ์ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในโลกปัจจุบัน หลังพบว่ามีดีเอ็นเอ ที่เหมือนกับช้างในปัจจุบันถึงร้อยละ 99.4


นักวิทยาศาสตร์เร่งดำเนินโครงการฟื้นคืนชีพ "ช้างแมมมอธ"ซึ่ง ถือเป็นสัตว์ในโลกดึกดำบรรพ์ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในโลกปัจจุบัน หลังพบว่ามีดีเอ็นเอ ที่เหมือนกับช้างในปัจจุบันถึงร้อยละ 99.4 โดยจะมุ่งไปที่เทคโนโลยี “สเต็ม เซลล์” และการตัดต่อพันธุกรรม และจะเปรียบเทียบพันธุกรรมของช้างเอเชีย เพื่อเป็นการปกป้องช้างเอเชียที่ใกล้สูญพันธุ์ด้วย 

ขณะที่ ล่าสุด มีการค้นพบ "ซากลูกช้างแมมมอธขนยาว" อายุกว่า 30,000 ปี ที่เหมืองทองคำแห่งหนึ่งในประเทศแคนาดา โดยอยู่ในสภาพเกือบจะสมบูรณ์ เนื่องจากโครงร่าง และผิวหนังเกือบทั้งหมด เสมือนกับว่ามันยังมีชีวิตอยู่

พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

รัฐบาลประจำดินแดนยูคอน ของแคนาดา ร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น ออกมาประกาศเรื่องการค้นพบซากลูก “แมมมอธขนยาว” เพศเมีย มีความยาวตั้งแต่หัวถึงหาง ประมาณ 140 เซนติเมตร อายุประมาณ 30 – 35 วัน

และคาดว่าน่าจะเคยมีชีวิตอยู่ เมื่อราวๆ 35,000 – 40,000 ปีก่อน ซึ่ง ซากลูก “แมมมอธขนยาว” อยู่ในสภาพเกือบจะสมบูรณ์ เนื่องจากโครงร่างและผิวหนังเกือบทั้งหมด เสมือนกับว่ามันยังมีชีวิตอยู่ โดยยังคงมีขน และร่องรอยขีดข่วนที่เท้าปรากฏให้เห็นชัดเจน หลังถูกฝังอยู่ใต้ชั้นดินเยือกแข็ง ภายในเหมืองทองคำแห่งหนึ่งของดินแดนยูคอน และถูกค้นพบโดยบังเอิญ จากคนงานขุดเหมืองที่กำลังขุดหาแร่ทองคำ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา

พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบดูแล ตั้งชื่อให้กับซากลูกแมมมอธ ตัวนี้ว่า “นุน โช กา” เป็นภาษาท้องถิ่น ที่แปลว่า “ลูกของสัตว์ขนาดใหญ่” โดยถือเป็นครั้งแรก ที่มีการพบซากลูกแมมมอธขนยาว ที่อยู่ในสภาพเกือบจะสมบูรณ์ แบบนี้ ในพื้นที่อเมริกาเหนือ

สำนักข่าวบีบีซี รายงานอ้างอิงถึงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์ ที่เผยแพร่เมื่อปี 2564 ซึ่ง วิเคราะห์ดีเอ็นเอ ของสิ่งมีชีวิตโบราณ ที่หลงเหลืออยู่ในชั้นดินเยือกแข็งคงตัว พบว่า "แมมมอธขนยาว" มีชีวิตอยู่ร่วมสมัย กับม้าป่า สิงโตถ้ำ และควายไบซันยักษ์

ในทุ่งหญ้าสเตปป์ ของภูมิภาค ยูคอน มาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง จนกระทั่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 5,000 ปีก่อน โดยสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

"แมมมอธขนยาว" ตัวผู้ มีความสูงราว 3.5 เมตร ส่วนตัวเมียเตี้ยกว่าเล็กน้อย งาที่โค้งงอนของมันมีความยาวสูงสุดถึง 5 เมตร ส่วนขนหนาใต้ท้องที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น มีความยาวถึง 3 เมตร ขณะที่ มีใบหูเล็กกว่าช้างในปัจจุบัน และมีหางสั้น เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน

เนื่องจากแมมมอธ มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับช้างในปัจจุบันมาก มีดีเอ็นเอที่เหมือนกันถึงร้อยละ 99.4 นักวิทยาศาสตร์จึงมีความคิด ที่จะทำให้พวกมันฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง โดยใช้เทคนิคการโคลน หรือ ดัดแปลงพันธุกรรมหลากหลายวิธี แต่ยังไม่มีใครทำได้สำเร็จ

พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

ขณะที่ “โคลอสซอล” บริษัทด้านชีววิทยาศาสตร์และพันธุศาสตร์ ที่ก่อตั้งโดยนายเบน แลมม์ เจ้าของธุรกิจด้านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ ร่วมกับ ดร.จอร์จ เชิร์ช หนึ่งในผู้สร้างโครงการฮิวแมน จีโนม และนักพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับเงินสนับสนุน 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 2,000 ล้านบาท เตรียมดำเนินโครงการชุบชีวิตให้แก่ช้างแมมมอธ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในโลกปัจจุบัน

ทีมงานจะเปรียบเทียบพันธุกรรมของช้างเอเชีย และแมมมอธ แล้วใช้เทคโนโลยีคริสเปอร์ เพื่อตัดแต่งสารพันธุกรรม ของช้างเอเชีย ให้เหมือนลำดับของช้างแมมมอธ ก่อนจะนำมาทดสอบว่า เซลล์ที่ได้จากการเติบโตของสารพันธุกรรมนี้ สามารถอยู่รอด ในอุณหภูมิที่หนาวเย็นได้หรือไม่ 22

พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

สำหรับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการชุบชีวิตแมมมอธ มีตั้งแต่การสร้าง “มดลูกเทียม” ไปจนถึง  “สเต็ม เซลล์” ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า จะใช้ยีนพันธุกรรมที่นำมาจากซากแมมมอธแช่แข็งที่ค้นพบ ไปคัดดีเอ็นเอของแมมมอธ ที่เก็บจากชิ้นส่วนที่ได้รับการรักษาอย่างดี ภายใต้ชั้นดินเยือกแข็ง 

ใส่เข้าไปในจีโนมของช้างเอเชีย ที่คัดมาแล้ว23 สายพันธุ์ ซึ่ง ต้องมีความคล้ายกันของดีเอ็นเอ ก่อนจะนำไปใส่ในตัวอ่อนลูกผสมในห้องปฏิบัติการ จากนั้น ตัวอ่อน จะถูกนำไปฟักเลี้ยงในแม่ช้างอุ้มบุญ หรืออาจเพาะเลี้ยงในครรภ์เทียม

พบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว สภาพเกือบสมบูรณ์ ต่อยอดฟื้นคืนชีพสัตว์สูญพันธุ์

นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การคืนชีวิตให้แก่สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อย่าง แมมมอธ สามารถขยายการใช้เทคโนโลยีนี้ เพื่อช่วยรักษาชีวิตสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ได้

ทั้งนี้ การชุบชีวิตแมมมอธ จะช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เนื่องจาก แมมมอธ ช่วยเรื่องการกักเก็บก๊าซคาร์บอน และลดการปล่อยก๊าซมีเทน รวมทั้ง ปกป้องช้างเอเชียที่ใกล้สูญพันธุ์

ปัจจุบันโคลอสซอล เร่งสร้างห้องปฏิบัติการทดลองแห่งที่ 4 ในเมืองดัลลัส โดยจะมุ่งไปที่เทคโนโลยี “สเต็ม เซลล์” และการตัดต่อพันธุกรรม.





ข่าวแนะนำ