กกต. สรุปจำนวนผู้สมัครสว. ‘สูงอายุ-พิการ-ชาติพันธุ์’ มากสุดใน 20 กลุ่มอาชีพ
กกต. สรุปจำนวนผู้สมัครสว. รวมทั้งสิ้น 48,117 ราย ‘สูงอายุ-พิการ-ชาติพันธุ์’ มากสุดใน 20 กลุ่มอาชีพกว่า 5,211 ราย
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สรุปจำนวนผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เมื่อช่วงวันที่ 20 - 24 พ.ค.67 และผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอได้ดำเนินการรับสมัครเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งสามารถจำแนกเป็นรายกลุ่ม ดังนี้
1.การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง ได้แก่ ผู้เคยข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 2,478
2.กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายหรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 1,869 ราย
3. การศึกษา ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 4,477 ราย
4.การสาธารณสุข ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล เภสัชกร หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 1,628 ราย
5.ทำนา ปลูกพืชลัมลุก หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 3,422 ราย
6. ทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 3,628 ราย
7.พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมีใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 2,440 ราย
8. ด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 1,180 ราย
9. ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 1,844 ราย
10.ผู้ประกอบกิจการอื่นนอกเหนือจากกิจการตาม ข้อ 9 จำนวน 1,200 ราย
11.ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 1,177 ราย
12.ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 609 ราย
13. ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 1,039 ราย
14. สตรี จำนวน 4,589 ราย
15. ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 5,211 ราย
16. ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 1,819 ราย
17. ประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 2,168 ราย
18.สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 867 ราย
19.ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน จำนวน 3,816 ราย
20. อื่นๆ จำนวน 2,656 ราย
รวมผู้สมัตร ทั้งนี้ 48,117 ราย
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอจะตรวจสอบเอกสารและหลักฐานการสมัคร คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ให้เสร็จสิ้น และภายในวันที่ 29 พ.ค.67 จะประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมั ครที่ผ่านการตรวจสอบทุกกลุ่มอาชีพในเขตอำเภอ แยกเป็นรายกลุ่ม โดยมีหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ซึ่งเรียงลำดับตามตัวอักษรของชื่อตัวผู้สมัครของแต่ละกลุ่ม ชื่อตัวและชื่อสกุลของผู้สมัคร อายุ อาชีพ และวุฒิการศึกษาสูงสุด ประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สถานที่ เลือก และจัดทำข้อมูลเผยแพร่ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอได้ประกาศ
บัญชีรายชื่อดังกล่าวข้างต้นแล้ว สำนักงาน กกต.จะเผยแพร่บัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง www.ect.go.th และแอปพลิเคชันสมาร์ทโหวต (Smart Vote) โดยประชาชนสามารถดูรายชื่อผู้สมัคร รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และข้อมูลแนะนำตัวผู้สมัคร (สว. 3) จากช่องทางดังกล่าว
ข้อมูลจาก: ทำเนียบรัฐบาล
ภาพจาก: ทำเนียบรัฐบาล
ข่าวแนะนำ