TNN นายกฯ ยินดี "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ผ่านสภาฯ ความภาคภูมิใจของสังคมไทย

TNN

การเมือง

นายกฯ ยินดี "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ผ่านสภาฯ ความภาคภูมิใจของสังคมไทย

นายกฯ ยินดี กฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่านสภาฯ ความภาคภูมิใจของสังคมไทย

นายกฯ โพสต์แสดงความยินดี สภาฯผ่านร่าง "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ชี้เป็นความภาคภูมิใจของสังคมไทย ร่วมกันเดินไปสู่สังคมแห่งความเท่าเทียม

ภายหลังจาก ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเสียงข้างมาก 400 เสียง ต่อ 10 เสียง ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ในวาระที่ 3 ตามที่คณะกรรมการธิการฯ พิจารณาแล้วเสร็จ


-เห็นชอบ 400 เสียง

-ไม่เห็นชอบ 10 เสียง

-งดออดเสียง 2 เสียง

-ไม่ลงคะเเนเสียง 3 เสียง


โดยที่ สส.มุสลิม ได้ขอใช้เอกสิทธิ์ไม่ให้ความเห็นชอบ เนื่องจากขัดต่อหลักศาสนา  ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือส่งให้วุฒิสภาพิจารณา และหากผ่านของวุฒิสภาแล้ว จึงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป


ล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความแสดงความยินดี ผ่านเฟซบุ๊กว่า "เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งครับ วันนี้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติ “เห็นชอบ” ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในวาระสาม พร้อมเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปในขั้นวุฒิสภา


ผมถือว่าความสำเร็จนี้เป็นความเห็นพ้องต้องกันของสังคมไทย ที่จะร่วมกันสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเพศสภาพและการสร้างครอบครัวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่รัฐควรให้การรับรอง


เริ่มต้นที่พรรคเพื่อไทยมีนโยบายผลักดันความเท่าเทียมทางเพศสภาพ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเข้าสู่สภาในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ครั้งนี้ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ฉบับพรรคเพื่อไทย เสนอเข้าสู่สภาควบคู่กับร่างของคณะรัฐมนตรี ของพรรคอื่น และของภาคประชาชน จนนำมาสู่ความสำเร็จในวันนี้


ตัวผมเองเมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็วางเป้าหมายสนับสนุนให้ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมผ่านคณะรัฐมนตรี และผ่านความเห็นชอบของกฤษฎีกา จนนำเข้าสู่รัฐสภาให้ได้ ในขั้นตอนการยกร่าง พ.ร.บ.นั้น เราได้รับฟังความเห็นที่หลากหลาย เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาสังคม รวมทั้งการพิจารณากฎหมายแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบด้วย ผมจึงได้ มีโอกาสทำงานร่วมกับหลายองค์กร 


ทั้งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เครือข่ายภาคประชาชน ใน LGBTQIA+ community และองค์กรเอกชนต่าง ๆ ที่ทำงานด้านนี้ จนทำให้ร่างของคณะรัฐมนตรีสำเร็จในปลายเดือน ตุลาคม 2566 ก่อนจะนำเข้าสภาผู้แทนราษฎรและผ่านวาระแรกร่วมกับร่างอื่น ๆ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566


การผ่านมติเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของสังคมไทย ที่ร่วมกันเดินไปสู่สังคมแห่งความเท่าเทียม และเคารพในความหลากหลาย
ภูมิใจครับ Our PRIDE! #สมรสเท่าเทียม ครับ"


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง