TNN นักวิชาการ ชี้ ผู้เลือกตั้งหน้าใหม่ หรือ New Voters กว่า 7 แสนคน ชี้ชะตา กทม.

TNN

การเมือง

นักวิชาการ ชี้ ผู้เลือกตั้งหน้าใหม่ หรือ New Voters กว่า 7 แสนคน ชี้ชะตา กทม.

นักวิชาการ ชี้ ผู้เลือกตั้งหน้าใหม่ หรือ New Voters กว่า 7 แสนคน ชี้ชะตา กทม.

ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง คณะรัฐศาสตร์ จาก ม.รังสิต วิเคราะห์ว่า กลุ่มผู้เลือกตั้งหน้าใหม่ จะเป็นผู้ชี้ชะตาการเลือกตั้งกรุงเทพครั้งนี้ และปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจจะมาจากตัวบุคคลเป็นหลัก พรรคการเมืองเป็นปัจจัยรอง คาดว่าผู้ชนะเลือกตั้งจะได้คะแนนเสียงเกิน 1 ล้านคะแนน

วันนี้ (22 พ.ค.65) ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยกับ "ทีมข่าว TNN ช่อง 16" วิเคราะห์การเลือกตั้งพื้นที่กทม. ว่า อาจารย์มองว่าประชาชนน่าจะตื่นตัวมากสำหรับการ "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม." เพราะประชาชนห่างหายจากการเลือกตั้งแบบนี้มาเกือบ 10 ปีแล้ว 

หากติดตามข่าวสารตลอดครึ่งเช้าที่ผ่านมา แม้ว่าหลายพื้นที่มีฝนตกลงมา บางพื้นที่ฝนตกหนัก แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับประชาชนเลย ต่างออกมาใช้สิทธิใช้เสียง 

ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ หรือ New Voters มีจำนวนประมาณ 700,000 คน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้ 

อย่างไรก็ตามอาจารย์มองว่ากลุ่มคนวัยทำงาน ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายทางการเมืองในครั้งนี้น่าจะเป็นผู้ที่ออกมาใช้สิทธิกันเป็นจำนวนมาก กลุ่ม นิวโวตเตอร์ หรือกลุ่มวัยเกษียณเมื่อเลือกแล้ว มักไม่เปลี่ยนใจ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าคนกลุ่มนี้ทุ่มเทเวลาไปกับการทำงาน

แตกต่างจากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ หรือ New Voters ที่เมื่อเลือกแล้วก็อาจเปลี่ยนในได้เพราะคนกลุ่มนี้ใช้เวลาอยู่กับโลกออนไลน์ ติดตามและรับฟังข่าวสารเสมอ หมายความว่าการคาดเดาจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เป็นที่มาของคำว่า "หักปากกาเซียน" 

ในกรณีหากคนไปใช้สิทธิประมาณร้อยละ 70 คนที่ได้คะแนน 1 ใน 3 หรือประมาณล้านกว่าเสียงก็น่าที่จะเป็นผู้ชนะ 

ผศ.วันวิชิต ระบุว่า ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯกทม. จะมาจากตัวบุคคลเป็นหลัก รองลงมา คือ ความชัดเจนฐานเสียงจากพรรคการเมือง และนโยบายของตัวผู้สมัคร

ส่วนการโหวตเชิงยุทธศาสตร์ ผศ.วันวิชิต มองว่า อาจมีผลบ้าง โดยการโหวตเช่นนี้ คือกลุ่มที่มีการแข่งขั้วและเฉดเสียงทางการเมืองอยู่แล้ว ประกอบกับการใช้พื้นที่สื่อของกลุ่มผู้ชี้นำทางการเมืองที่จะมีบทบาทในส่วนนี้ด้วย อาจมีส่วนโน้มน้าวการตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิ์ได้.


ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ