เช็กพิกัดอันตราย ‘ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว’ ระยะไหนเป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงสารพิษ

TNN ONLINE

ภูมิภาค

เช็กพิกัดอันตราย ‘ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว’ ระยะไหนเป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงสารพิษ

เช็กพิกัดอันตราย ‘ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว’ ระยะไหนเป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงสารพิษ

เช็กพิกัดอันตรายจากกรณี ‘ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว’ ความห่างระยะไหนเป็นพื้นที่สีแดงเสียงกับสารพิษ

วันนี้ ( 6 .. 64 )จากกรณีเกิดเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ซึ่งเป็นผลิตโฟมและเม็ดพลาสติก โรงงานหมิงตี้เคมิคอล จำกัด ภายในซอยกิ่งแก้ว 21 ถนนกิ่งแก้ว .บางพลีใหญ่ .บางพลี .สมุทรปราการ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ..ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเข้าควบคุมเพลิงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน จึงสามารถควบคุมเพลิงได้ ล่าสุดสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ได้โพสต์ข้อแนะนำสำหรับประชาชนที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุว่ามีความเสี่ยงต่อสารพิษที่รั่วไหลหรือไม่ โดยระบุข้อความดังนี้

บ้านเราโรงงานเราปลอดภัยจากการรั่วไหล สารสไตรีน 50 ตัน และ 20 ตัน หรือไม่? เมื่อเช้าโพสต์กรณีรั่วไหลที่ 100 ตัน มาตอนนี้ จะแสดงผลการประเมินกรณีรั่วไหลที่ 50 และ 20 ตัน ตามลำดับว่าผลจะออกมาอย่างไรบ้าง

. กรณี 50 ตัน พบว่า

AEGL-3 (พื้นที่สีแดง) อันตรายสุด เป็นพื้นที่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 1.7 กิโลเมตร อยู่ไม่ได้ ต้องออกจากพื้นที่ บริเวณนี้มีค่าสไตรีนในอากาศ (ประเมินจากแบบจำลอง) 1,100 ppm

AEGL-2 (พื้นที่สีส้ม) อันตรายรองลงมา เป็นพื้นที่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 3.6 กิโลเมตร บริเวณนี้มีค่าสไตรีนในอากาศ (ประเมินจากแบบจำลอง) 130 ppm

AEGL-1 (พื้นที่สีเหลือง) เป็นบริเวณที่ปลอดภัยจากการสัมผัสสารสไตรีน ห่างจากโรงงานที่เกิดเพลิงไหม้ 7.2 กิโลเมตร บริเวณนี้มีค่าสไตรีนในอากาศ (ประเมินจากแบบจำลอง) 20 ppm

เช็กพิกัดอันตราย ‘ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว’ ระยะไหนเป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงสารพิษ

ข้างต้นเป็นค่ามาตรฐานตาม US.EPA แต่หากมาดูมาตรฐานของหน่วยงานอื่น จะเป็นอย่างไรบ้าง

1. US.OSHA (และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) บอกว่าไม่ว่าเวลาใด ห้ามลูกจ้างสัมผัสที่ความเข้มข้น 200 ppm” และหากจะถึงจุดพีทจริง ก็ให้ว่าในช่วงระยะสั้น 5 นาที ความเข้มข้นต้องไม่เกิน 600 ppm นะ (ภายในแต่ละ 3 ชั่วโมง)”

2. US.NIOSH ก็กำหนดค่า IDLH (ค่าที่ปลอดภัยต่อชีวิตหากเราออกจากพื้นที่นั้น ทันที) ไว้ที่ 700 ppm ก็จะเห็นว่าจะมีเพียงประชาชน ชุมชน หมู่บ้าน และโรงงานในพื้นที่สีแดง ระยะห่างจากโรงงาน 1.7 กิโลเมตร (คิดแบบตัวเลขกลม ก็เป็น 2 กิโลเมตร) ที่เสี่ยงมาก ต่อสุขภาพที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากการรั่วไหลครั้งนี้

. แต่หากเป็นกรณีรั่วไหลที่ 20 ตัน จะพบว่า

AEGL-3 (พื้นที่สีแดง) อันตรายสุด เป็นพื้นที่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 1.2 กิโลเมตร อยู่ไม่ได้ ต้องออกจากพื้นที่ บริเวณนี้มีค่าสไตรีนในอากาศ (ประเมินจากแบบจำลอง) 1,100 ppm

AEGL-2 (พื้นที่สีส้ม) อันตรายรองลงมา เป็นพื้นที่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 2.7 กิโลเมตร บริเวณนี้มีค่าสไตรีนในอากาศ (ประเมินจากแบบจำลอง) 130 ppm

AEGL-1 (พื้นที่สีเหลือง) เป็นบริเวณที่ปลอดภัยจากการสัมผัสสารสไตรีน ห่างจากโรงงานที่เกิดเพลิงไหม้ 5.3 กิโลเมตร บริเวณนี้มีค่าสไตรีนในอากาศ (ประเมินจากแบบจำลอง) 20 ppm

ก็ขอขอบคุณบริษัท ซีคอท จำกัด ที่ให้ความร่วมมือประเมินสถานการณ์ในแบบจำลองมาในครั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องที่จะนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป

เช็กพิกัดอันตราย ‘ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว’ ระยะไหนเป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงสารพิษ

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง