TNN เปิดประวัติ "ทะเลสองห้อง" แหล่งน้ำจืดที่ลึกสุดในเอเชีย กับตำนานความเชื่อใต้บาดาล

TNN

ภูมิภาค

เปิดประวัติ "ทะเลสองห้อง" แหล่งน้ำจืดที่ลึกสุดในเอเชีย กับตำนานความเชื่อใต้บาดาล

เปิดประวัติ ทะเลสองห้อง แหล่งน้ำจืดที่ลึกสุดในเอเชีย กับตำนานความเชื่อใต้บาดาล

เปิดประวัติ "ทะเลสองห้อง" แหล่งน้ำจืดที่ลึกสุดในเอเชีย กับตำนานความเชื่อใต้บาดาล พร้อมเปิดข้อมูล ภาวะน้ำหนีบ คืออะไร

"ทะเลสองห้อง" อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช  แหล่งน้ำจืดที่ลึกที่สุดในเอเชีย กลายเป็นที่พูดถึงกันอีกครั้ง เมื่อมีข่าวครูสอนดำน้ำชาวไทยวัย 47 ปี เสียชีวิตจาก ภาวะน้ำหนีบ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา  


สังเวยชีวิตให้ "ทวดเล สองห้อง" 


การเสียชีวิตของ นักดำน้ำชั้นครู รายนี้ ทำให้ชาวบ้าน นึกถึงตำนานอาถรรพ์เมืองบาดาล  และความเชื่อเรื่องพญานาคราช เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ เคยมีนักดำน้ำ เสียชีวิต มาแล้วหลายราย  เมื่อหลายปีก่อนมีครูดำน้ำต่างชาติเดินทางมาดำน้ำพิสูจน์ความลึก  และหายตัวไปอย่างลึกลับ จนถึงวันนี้  ก่อนจะที่ "ทะเลสองห้อง" จะกลายเป็นข่าวโด่งดัง เมื่อช่วงปลายปี 2562 ครูสอนดำน้ำชาวอังกฤษ สังเวยชีวิตให้กับ "ทะเลสองห้อง" อีกราย  


ชาวบ้าน ใน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช มีความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่า "ทะเลสองห้อง"  คือ พระราชวังของเจ้าเมืองพญานาค หากใครดำลงไปลึกถึงด้านล่าง ก็จะถูกลงโทษ และไม่มีโอกาสกลับมาสู่เมืองมนุษย์อีกเลย 


เรื่องที่เกิดขึ้นแม้ในทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่า นักดำน้ำอังกฤษ ที่เสียชีวิต  อาจจะเกิดจากออกซิเจนในถังหมด และทำให้ขาดอาหาศหายใจ แต่ในความเชื่อของชาวบ้านที่นี่ อาจเกิดจากอาถรรพ์ของ พญานาคราช หรือ “ทวดเลสองห้อง”  


“ทะเลสองห้อง-ลึกไม่รู้สิ้นไม่รู้สุด” 


"ทะเลสองห้อง" บ้านกรุงหยัน  สันนิฐานว่า เป็นปล่องภูเขาไฟในสมัยดึกดำบรรพ์  เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว มีความลึกไม่เคยมีใครหยั่งถึงจนเป็นตำนานอาถรรพ์กล่าวขานมาตั้งแต่โบราณว่า  “ทะเลสองห้องลึกไม่รู้สิ้นไม่รู้สุด” 


สำหรับ "นักดำน้ำ" แล้ว  "ทะเลสองห้อง" แห่งนี้ ถือเป็นความท้าทาย ของนักดำน้ำจากทุกมุมโลก ที่จะเดินทางมาพิสูจน์ความลึก และชมความงามของถ้ำใต้น้ำ



ทำไมถึงรียก "ทะเลสองห้อง"  ??


ทะเลสองห้อง คือ บึงน้ำขนาดใหญ่ มี 2 บ่อ เชื่อมต่อกัน และมีถ้ำใต้น้ำ โดยปากบ่อหรือปากถ้ำบนพื้นดินเต็มไปด้วยหินแข็งคล้ายลาวาจากภูเขาไฟ 2 ปล่อง 


สำหรับบึงหรือปากปล่องแรกกว้างประมาณ 20 ไร่ อีกห้องกว้างประมาณ 10 ไร่ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า ทะเลสองห้อง



หรือ ไม่ใช่ "อาถรรพ์"  แต่เป็น "ภาวะน้ำหนีบ" 


การเสียชีวิตของนักดำน้ำ รายล่าสุด เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา  อาจสันนิฐานได้อีกกรณีก็คือ "ภาวะน้ำหนีบ"     อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะน้ำหนีบ ไว้ว่า  เป็นโรคที่เกิดจาก เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ได้รับก๊าซไนโตรเจนภายใต้ความกดดันจนเกิดภาวะอิ่มตัว เมื่อมีการลดความกดดัน เนื้อเยื่อจึงคายก๊าซไนโตรเจนที่เกินออก เกิดเป็นฟองอากาศเข้าสู่ระบบต่างๆของร่างกาย รวมทั้งระบบไหลเวียนของเส้นเลือด  เกิดการอุดตันในตำแหน่งต่างๆจนเกิดพยาธิสภาพและอาการขึ้น  สาเหตุจากการดำน้ำที่ลึก หรือนานเกินกำหนดแล้วขึ้นสู่ผิวน้ำโดยไม่หยุดลดความกดใต้น้ำตามที่ตารางลดความกดกำหนด  


   DCS  แบ่งเป็น  2 ชนิด คือ

1.  DCS Type 1 จะมีอาการทางผิวหนัง มีผื่นคัน ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อหรือมีอาการบวมเฉพาะที่

2.  DCS Type 2 หรือ Serious DCS  จะมีอาการทางระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด เช่น  แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออก ไอมีเสมหะปนเลือด  เวียนศีรษะ เดินเซ อัมพาต หมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้

ข่าวแนะนำ