"กล้วยหอมไทย" ผลไม้ยืนหนึ่ง ราคาสูง ผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญที่มียอดการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ
ไทยส่งออกกล้วยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ และเป็นอันดับที่ 18 ของโลก
กล้วยเป็นผลไม้ที่คนทั่วโลกนิยมรับประทาน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปลูกได้ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยนั้นสามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดูกาล
ประเทศที่ผลิตกล้วยมากที่สุดของโลก
อันดับ 1 อินเดีย 29,124,000 ตันต่อปี
อันดับ 2 จีน 13,324,337 ตันต่อปี
อันดับ 3 อินโดนีเซีย 7,007,125 ตันต่อปี
อันดับ 20 ไทย 1,075,251 ตันต่อปี
อันดับผู้ส่งออกผลไม้และกล้วยหอมไทยในตลาดโลก
ไทยส่งออกกล้วยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ และเป็นอันดับที่ 18 ของโลก
ไทยครองแชมป์การส่งออกผลไม้ไปจีนเป็นอันดับ 1 ปี 2565 ปริมาณนำเข้าผลไม้ในจีน 2,170,000 ตัน มูลค่า 4,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.72
พื้นที่ปลูกกล้วยในประเทศไทย
ไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วย 481,639 ไร่
กล้วยน้ำว้า 328,456 ไร่ ผลผลิต 184,251 ตัน
กล้วยไข่ 63,233 ไร่ ผลผลิต 32,159 ตัน
กล้วยหอม 62,252 ไร่ ผลผลิต 30,082 ตัน
เกษตรกรปลูกกล้วยหอม 12,959 ราย พื้นที่ปลูก 61 จังหวัด
3 จังหวัดที่ปลูกกล้วยหอมมากที่สุดได้แก่
ปทุมธานี 21,368 ไร่
เพชรบุรี 14,150 ไร่
สุราษฏร์ธานี 10,745 ไร่
รู้หรือไม่ : ไทยส่งออกกล้วยหอมและผลิตภัณฑ์แปรรูปไปยังตลาดญี่ปุ่นเพิ่ม โดยญี่ปุ่นนำเข้ากล้วยจากต่างประเทศปีละประละมาณ 1 ล้านตันต่อปี โดยไทยได้โควต้าส่งออกไปญี่ปุ่นปีละ 8,000 ตัน แต่ปัจจุบันไทยส่งออกได้แค่ปีละ 2,000-3,000 ตันเท่านั้น เนื่องจากคุณภาพกล้วยหอมไทยยังไม่ตรงกับตลาดความต้องการของญี่ปุ่น สาเหตุที่ทำให้ไทยส่งออกได้น้อยแม้ว่าจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าก็ตาม แต่ก็เพราะการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะคู่แข่งอย่างฟิลิปปินส์ที่ครองตลาดอยู่ที่ร้อยละ 76 หรือ 3 ใน 4 ของตลาดกล้วยในญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ไทยก็ยังมีโอกาส เพราะทางฟิลิปปินส์เพิ่งประกาศขึ้นราคากล้วยในญี่ปุ่น เนื่องจากมีค่าใช่จ่ายที่สูงขึ้น และเกิดโรคระบาดในกล้วยที่ทำให้ผลผลิตลดลง
ข่าวแนะนำ