TNN เขื่อนไหนบ้าง? ในประเทศไทย ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้ามากที่สุด

TNN

InfoGraphic

เขื่อนไหนบ้าง? ในประเทศไทย ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้ามากที่สุด

เขื่อนไหนบ้าง? ในประเทศไทย ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้ามากที่สุด

ทรัพยากรน้ำ นับเป็นทรัพยากรสำคัญที่ช่วยในการหล่อเลี้ยงชีวิต ทั้งการอุปโภค และบริโภคของคนไทยมาช้านาน รวมไปถึงน้ำยังใช้ในการผลิตไฟฟ้า สร้างแสงสว่างให้คนไทยได้ใช้กันอย่างมีความสุขมามากกว่าครึ่งศตวรรษ

การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนั้นมีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ปลดปล่อยมลพิษ มีความยืดหยุ่นในกระบวนการผลิตสูง และมีการ Startup โรงไฟฟ้าได้รวดเร็ว เขื่อนจึงถูกกำหนดให้เป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการกู้ระบบไฟฟ้า (Black Start) หากเกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง Blackout (Black Start คือ การเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าด้วยตัวเอง เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าไปจ่ายให้โรงไฟฟ้าอื่นซึ่งไม่สามารถ Black Start ตัวเองได้ แล้วจึงค่อยทยอยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบหลักของระบบจำหน่าย เพื่อส่งต่อไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า การ Black Start เป็นขั้นตอนหนึ่งในแผนการนำระบบไฟฟ้ากลับคืนสู่ภาวะปกตินอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนนั้นจึงมักใช้จากพลังน้ำมาเสริมช่วงที่ความต้องการสูง (ช่วงพีค)


อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เราเห็นเป็นภาพของเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศไทยนั้น ไม่ใช่ทุกแห่งจะมีวิธีการผลิตไฟฟ้าเหมือนกันทั้งหมด เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ติดตั้งอยู่ตามเขื่อนต่างๆ ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ (Reservoir), โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-ofriver), โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-storage)



อันดับ เขื่อนที่มีกำลังผลิตไฟฟ้า มากที่สุดในประเทศไทย


1. เขื่อนศรีนครินทร์ (.กาญจนบุรี)

*เขื่อนศรีนครินทร์เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่สามารถกักเก็บน้ำได้มากที่สุดในประเทศไทย
ลักษณะเขื่อน : เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว

ความจุอ่างเก็บน้ำ : 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่อ่างเก็บน้ำ : 419 ตารางกิโลเมตร

กำลังการผลิตไฟฟ้า : 720 เมกะวัตต์

ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ : 1,250 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง


2. เขื่อนภูมิพล (.ตาก)

*เขื่อนคอนกรีตโค้งแห่งเดียวของประเทศไทยที่ใหญ่และสูงสุดในเอเชียอาคเนย์ และใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก
ลักษณะเขื่อน : เขื่อนคอนกรีต

ความจุอ่างเก็บน้ำ : 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่อ่างเก็บน้ำ : 300 ตารางกิโลเมตร

กำลังการผลิตไฟฟ้า : 779.20 เมกะวัตต์

ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ : 1,062 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง


3. เขื่อนสิริกิติ์ (.อุตรดิตถ์)

*เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอ่างเก็บน้ำมีความจุมากเป็นอันดับ 3 รองจากเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนภูมิพล

ลักษณะเขื่อน : เขื่อนดินแกนกลางดินเหนียว

ความจุอ่างเก็บน้ำ : 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่อ่างเก็บน้ำ : 260 ตารางกิโลเมตร

กำลังการผลิตไฟฟ้า : 500 เมกะวัตต์

ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ : 1,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง


4. เขื่อนวชิราลงกรณ (.กาญจนบุรี)

ลักษณะเขื่อน : เขื่อนหินถมดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

ความจุอ่างเก็บน้ำ : 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่อ่างเก็บน้ำ : 388 ตารางกิโลเมตร

กำลังการผลิตไฟฟ้า : 300 เมกะวัตต์

ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ : 777 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง


5. เขื่อนรัชชประภา (.สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะเขื่อน : เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว

ความจุอ่างเก็บน้ำ : 5,639 ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่อ่างเก็บน้ำ : 185 ตารางกิโลเมตร

กำลังการผลิตไฟฟ้า : 240 เมกะวัตต์

ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ : 554 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง



ทั้งนี้ การเลือกว่าจะติดตั้งโรงไฟฟ้าประเภทใดนั้นต้องคำนึงถึงภูมิประเทศที่ก่อสร้าง และการชลประทานด้วย เนื่องจากว่าการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำนั้นต้องใช้พื้นที่มาก และต้องเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมด้วย





เขื่อนไหนบ้าง? ในประเทศไทย ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้ามากที่สุด





ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย www.egat.co.th

ข่าวแนะนำ