TNN แพทย์เผยแนวทางรักษา “กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ” จากการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็ก

TNN

Health

แพทย์เผยแนวทางรักษา “กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ” จากการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็ก

แพทย์เผยแนวทางรักษา “กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ” จากการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็ก

อาการ “กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ” และ “เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ” โดยร่วม คือ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ใจสั่น และเป็นลม หากมีอาการดังกล่าวภายใน 1 สัปดาห์ หลังเข้ารับวัคซีน mRNA ควรรีบพบแพทย์ทันที

ความเสี่ยงหลังเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็กแม้พบได้น้อยมาก แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 


นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจอับเสบ และ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ที่เกิดจากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA มักพบในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มที่ 1 พบว่าเพศชายที่มีอายุ 12-17 ปี จะมีอัตราการเกิดสูงสุด รองลงมาในช่วงอายุ 18-24 ปี หากสงสัยว่าอาจเกิดอาการดังกล่าวแนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์โรคหัวใจ เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกเรย์ปอด และการตรวจเลือดดูโปรตีนของกล้ามเนื้อหัวใจ


สำหรับแนวทางการรักษาแบบประคับประคองนั้น แพทย์จะใช้ยา เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาสเตียรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยหายเป็นปกติได้เกือบทั้งหมด ดังนั้น การรับวัคซีนยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะประโยชน์ที่ได้รับจากฉีดวัคซีนมีมากกว่า ความเสี่ยงต่ำของกล้ามเนื้อหัวใจตาย 


ขณะที่ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เผยถึงภาพรวมกลุ่มนักเรียนอายุ 12-17 ปี ขณะนี้ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มแรกแล้วมากกว่า 150,000 คน หรือประมาณ ร้อยละ 3 ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจากการติดตามอาการที่อาจเกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อย เช่น เจ็บ ปวด ร้อนบริเวณที่ฉีด เวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน หลังได้รับการปฐมพยาบาลอาการกลับมาเป็นปกติ 


ส่วนอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ที่ผ่านมาประเทศไทยพบ 3 รายที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน อาการไม่รุนแรงและรักษาหาย  


สำหรับวัคซีนที่จะฉีดให้เด็กอายุ 5 - 11 ปี ขณะนี้ยังไม่มีบริษัทใดมายื่นเอกสารขึ้นทะเบียนกับ อย.ไทย เพื่อปรับข้อบ่งชี้ในการใช้วัคซีน มีเพียงผลการศึกษาวิจัยจากต่างประเทศว่าวัคซีนไฟเซอร์ใช้ได้ผลดีในกลุ่มอายุ 5-11 ปีเท่านั้น


ที่มา: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, กรมควบคุมโรค

ภาพ: TNN ONLINE



ข่าวแนะนำ