TNN รู้จัก "ไฮเปอร์เทอร์เมีย" สายก๊งเหล้าแก้หนาวยิ่งเสี่ยง

TNN

Health

รู้จัก "ไฮเปอร์เทอร์เมีย" สายก๊งเหล้าแก้หนาวยิ่งเสี่ยง

รู้จัก ไฮเปอร์เทอร์เมีย สายก๊งเหล้าแก้หนาวยิ่งเสี่ยง

ไฮเปอร์เทอร์เมีย หรือ ภาวะตัวเย็นเกิน เกิดจากการที่ร่างกายอุณหภูมิต่ำลงอย่ารวดเร็ว จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ยิ่งในคนที่ชอบดื่เหล้าแก้หนาวยิ่งมีความเสี่ยง

ช่วงอากาศหนาวทุกปี มีรายงนผู้ประบภัยหนาวเสียชีวิตในทุกปี ซึ่งส่วนหนึ่งของสาเหตุที่หลายคนไม่ะวังนั้น คือ การเกิดไฮเปอร์เทอร์เมีย  หรือ ภาวะตัวเย็นเกิน จากการที่ร่างกายอุณหภูมิต่ำลงอย่ารวดเร็ว ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำงานไม่ปกติ จนนำไปสู่การเสียชีวิต ยิ่งในคนที่ชอบดื่เหล้าแก้หนาวยิ่งมีความเสี่ยง 


ไฮเปอร์เทอร์เมีย คืออะไร


เป็นภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำเกินไป ทำให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจ และสมองได้รับผลกระทบจนทำหน้าที่ผิดปกติ บางราย   ที่มีอาการรุนแรงอาจจะถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับสาเหตุมี 2 ปัจจัย ได้แก่ 


  • การสัมผัสกับความหนาวเย็น เช่น อยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวหรือแช่อยู่ในน้ำเย็นจัดซึ่งมักเกิดขึ้นเนื่องจากอุบัติเหตุ


  • การที่ร่างกายสูญเสียกลไกการปรับอุณหภูมิ ทำให้ไม่สามารถสร้างและเก็บความร้อนในร่างกายได้


โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปและในผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวานที่มีภาวะประสาทเสื่อม ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะขาดอาการ ผู้ที่กินยานอนหลับ ยากล่อมประสาท รวมถึงผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป


เหตุใดดื่มเหล้าแก้หนาวจึงมีความเสี่ยง เป็นไฮเปอร์เทอร์เมีย


เพราะการดื่มสุราในระยะแรกนั้นจะส่งผลให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะขยายตัวทำให้รู้สึกอบอุ่นขึ้นเพียงชั่วครู่ ร่างกายจะเริ่มระบายความร้อนมากขึ้นโดยไม่รู้ตัวทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง นำไปสู่ความเสี่ยงเกิดภาวะไฮโปเทอร์เมีย หรือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำเกิน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะในร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และในรายที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะออกฤทธิ์กดประสาททำให้เกิดอาการง่วง ซึม และอาจหลับท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้


อาการของไฮเปอร์เทอร์เมีย


-อาการระยะแรกจะมีอาการสั่น พูดอ้อแอ้ เดินเซ งุ่มง่าม หงุดหงิด สับสน ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจด้อยลง เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงไปอีก


-ผู้ป่วยจะหยุดสั่น มีอาการเพ้อคลั่ง ไม่รู้ตัว อาจจะหมดสติ


-เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียสผู้ป่วยจะไม่หนาวสั่น แต่จะหายใจช้าลง ชีพจรเต้นช้าลงหรือเต้นผิดจังหวะ ประกอบกับมี  ความดันเลือดต่ำ ปากเขียว ตัวเขียว รูม่านตาโต 2 ข้าง หรือถึงขั้นหมดสติ หยุดหายใจ


การปฐมพยาบาล 


-พาผู้ป่วยหลบอากาศที่หนาวเย็น หรือขึ้นจากน้ำเย็นโดยนำเข้าไปในห้องที่อบอุ่นและไม่มีลมเข้า ถ้าเสื้อผ้าเปียกน้ำควรปลดออก เปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่แห้ง


-อบอุ่นร่างกายโดยห่อหุ้มด้วยผ้านวม ผ้าห่ม หรือเสื้อผ้าหนา ถ้าอยู่กลางแจ้งควรใช้ผ้าหนาคลุมใบหน้าและศีรษะเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน หรือนอนกอดเพื่อถ่ายเทความร้อนให้ผู้ป่วย


-ให้ผู้ป่วยให้นอนนิ่งในท่านอนหงายบนพื้น  ที่อบอุ่น โดยหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่จำเป็น ห้ามนวดหรือแตะต้องตัวผู้ป่วย   ด้วยความรุนแรงเพราะอาจกระทบกระเทือน จนทำให้หัวใจหยุดเต้น


การป้องกัน


-ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้อบอุ่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศหนาว


-ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้เพียงพอปกคลุมถึงหน้าและศีรษะ และใส่ถุงมือ-ถุงเท้า


-ควรดูแลกลุ่มเสี่ยงในช่วงที่อากาศหนาวเย็น เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


-ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวจัด


ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภาพปก : Envato

ข่าวแนะนำ