TNN 30% ของเด็กไทยอ้วน เตือนพ่อแม่ต้องระวังโรค NCDs

TNN

Health

30% ของเด็กไทยอ้วน เตือนพ่อแม่ต้องระวังโรค NCDs

30% ของเด็กไทยอ้วน เตือนพ่อแม่ต้องระวังโรค NCDs

ประเทศไทยมีเด็กที่เป็นโรคอ้วนสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน รองจากประเทศมาเลเซีย และบรูไน

คาดการณ์ของสหพันธ์โรคอ้วนโลก (World Obesity Federation) ในปี 2573 จะมีเด็กอ้วนทั่วโลกมากถึง 1 ใน 3 โดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งจากรายงานการเฝ้าระวังโรคอ้วนในเด็กของประเทศไทย พบแนวโน้มเด็กเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยพบว่าเด็กอายุ 0 - 5 ปี อ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 8.84 และเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี อ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.9 เป็นร้อยละ 13.21 วัยรุ่นอายุ 15-18 ปี มีเริ่มอ้วนและอ้วนลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 13.84 เป็นร้อยละ 13.46 แต่ยังคงเกินเป้าหมายระดับชาติที่กำหนดไว้ คือ ไม่เกินร้อยละ 11.5 ทั้งนี้ ในปี 2567 เด็กวัยเรียนในช่วงอายุ 6-14 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 546,434 คน เด็กวัยรุ่นในช่วงอายุ 15-18 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน  230,027 คน จากการคาดการณ์เด็กที่เป็นโรคอ้วน 1 ใน 3 จะเป็นผู้ใหญ่อ้วน หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไข จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยในอนาคต กรมอนามัย จึงเร่งวางมาตรการในการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น เพื่อให้เด็กไทยมีร่างกายจิตใจที่แข็งแรง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไทย


เพื่อป้องกันอันตรายจากทั้งโรคไข้หวัด โรคติดเชื้อ ท้องเสีย ท้องร่วง หรืออันตรายจากการเข้าพื้นที่แออัด อับอากาศ  การเล่นของเล่น เครื่องเล่นเด็กที่อันตราย ลูกโป่งอัดก๊าซไฮโดรเจน และฝุ่น PM2.5 โดยแนะนำ 4 เลี่ยง 4 เลือก คือ 


1) เลี่ยงเข้าพื้นที่เสี่ยงแออัดคับแคบ คนเยอะอย่าเข้าไป ปลอดภัยชัวร์

2) เลี่ยงการเล่นลูกโป่งอัดก๊าซไฮโดรเจน พลุ และประทัด 

3) เลี่ยงกินอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารค้างคืน น้ำหวาน ไอศกรีม รวมทั้ง ระวังน้ำและน้ำแข็งไม่สะอาด 

4) เลี่ยงของเล่นอันตราย มีสารพิษปนเปื้อนหรือมีขนาดเล็กจนอาจเผลอหยิบเข้าปาก 


1) เลือกสวมหน้ากากป้องกันโรคติดต่อและฝุ่น PM2.5 

2) เลือกกินอาหารปรุงสุกใหม่ กลิ่น รสไม่ผิดปกติ และดื่มน้ำสะอาดได้มาตรฐาน 

3) เลือกล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดหรือสเปรย์แอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสสิ่งสกปรก 

4) เลือกเครื่องเล่น ของเล่นที่ปลอดภัย มีคนดูแลใกล้ชิดไม่คลาดสายตา


ที่มา : กรมอนามัย 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง