เชื้อไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ทำชายสเปนเสียชีวิต หลังจากถูกเห็บกัด
เชื้อไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ทำชายสเปนวัย 74 ปีเสียชีวิต หลังจากถูกเห็บกัด
ชายวัย 74 ปี เสียชีวิต หลังจากถูกเห็บกัดติดจนเชื้อไข้เลือดออกไครเมียนคองโก หรือ CCHF ในประเทศสเปน โดยเชื้อไข้เลือดออกไครเมียนคองโกมีความคล้ายคลึงกับไข้เลือดออกอีโบลา
ทั้งนี้ไข้เลือดออกไครเมียนคองโกจะทำให้เกิดการระบาดของไข้เลือดออกจากไวรัสอย่างรุนแรง คล้ายกับไข้เลือดออกอีโบลา อาการเริ่มแรกมักมีไข้ฉับพลัน หนาวสั่น อาเจียน และท้องเสีย ตามมาด้วยอารมณ์แปรปรวนและสับสน
ตามชายคนดังกล่าวเข้าตรวจที่โรงพยาบาลในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ด้วยอาการมีไข้ ไม่สบายตัวทั่วไปหลังจากถูกเห็บกัดในเมืองบูเอนาสโบดาส ในจังหวัดโทเลโด ทางตอนกลางของสเปน เมื่อหลายวันก่อน
และเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยืนยันว่าชายรายนี้ติดเชื้อ CCHF และเขาถูกส่งตัวไปยังห้องแยกโรคที่โรงพยาบาลลาปาซ-การ์ลอสที่ 3 ในวันนั้น ตามคำแถลงของโรงพยาบาลที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ทั้งนี้ในคำแถลงการณ์ยังได้ระบุว่าเขามีอาการคงที่ แต่เขาเสียชีวิตหนึ่งสัปดาห์
ตามการระบุของ WHO ได้อธบายไว้ว่า เมื่อติดเชื้อไข้เลือดออกไครเมียนคองโก โดยปกติแล้วการเสียชีวิตจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองของการเจ็บป่วย แต่สำหรับผู้ป่วยที่หายจาหโรคนี้จะฟื้นตัวและจะเริ่มเห็นอาการดีขึ้นใน 9 หรือ 10 วันหลังจากป่วย
โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก พบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2487 ที่บริเวณแหลมไครเมียน ต่อมาเกิดการระบาดในประเทศคองโก สาเหตุเกิดจากเชื้อไนโรไวรัส (Nairovirus) เชื้อดังกล่าวพบในตัวเห็บที่อาศัยอยู่บนตัวสัตว์เท้ากลีบ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น พบระบาดในประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบแปซิฟิกตะวันตก ติดต่อโดย ถูกเห็บที่มีเชื้อไนโรไวรัสกัด, สัมผัสเลือดหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีเชื้อ, สัมผัสเลือดหรือเนื้อเยื่อของผู้ป่วยไครเมียนคองโก
อาการของไข้เลือดออกไครเมียนคองโก
เมื่อป่วยจะเริ่มด้วยอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดท้อง อุจจาระร่วง มีภาวะเลือดคั่ง ตาอักเสบบวมแดง อาจมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง เกิดขึ้นบริเวณหน้าอกและท้องแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย อาจมีเลือดออกที่บริเวณเหงือก จมูก ปอด มดลูก ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอาหาร อัตราการป่วยตายจะอยู่ที่ ร้อยละ 30-40 หากพบผู้ติดเชื้อให้แยกผู้ป่วยให้อยู่ในห้องเดี่ยว และควรเป็นห้องความดันลบ ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่พบรายงานผู้ป่วยในประเทศไทย หากกลับจากต่างประเทศและสงสัยโรคนี้ ให้พบแพทย์และให้ประวัติการเดินทางและปัจจัยเสี่ยง
ที่มา : CNN / กระทรวงสาธารณสุข
ข่าวแนะนำ