TNN หยุดการใช้ "ความรุนแรงในครอบครัว" ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา

TNN

Health

หยุดการใช้ "ความรุนแรงในครอบครัว" ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา

หยุดการใช้ ความรุนแรงในครอบครัว ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา

นักจิตวิทยาแนะนำการหยุดวงจรส่งต่อการใช้ความรุนแรงและปัญหาครอบครัว ทั้งหมด 6 วิธี

การใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือ Domestic violence หมายถึง การใช้ความรุนแรงในรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการทำร้าย ข่มขู่ บังคับ รวมถึงการพยายามควบคุมบงการให้เหยื่อทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายครอบครัวไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสังคมอื่นๆ เช่น การใช้ยาเสพติด 


นักจิตวิทยาแนะนำการหยุดวงจรส่งต่อการใช้ความรุนแรงและปัญหาครอบครัว ทั้งหมด 6 วิธี


1. รับฟังกันให้มากขึ้น


ก่อนจะลงโทษลูก หรือทำร้ายกันในครอบครัว ต้องรับฟังเหตุผลและความคิดเห็นของสมาชิกในครอบครัว หากมันไปคนละทาง ก็มาหาตรงกลางร่วมกัน ถึงผลลัพธ์จะไม่ตรงใจ แต่ก็ออกมาดีกว่าใช้ความรุนแรงในครอบครัวแน่นอน


2. อย่าด่วนตัดสินคนในครอบครัว


เมื่อคุณได้ยิน ได้ฟังเรื่องราวของคนในครอบครัวมาจากคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น สามีมีชู้ ลูกแอบไปเที่ยวกับผู้ชาย ต้องระลึกไว้ก่อนว่า “ไม่มีใครรู้จักคนในครอบครัวดีเท่าเรา” จึงไม่ควรด่วนตัดสินอะไรเพียงเพราะได้ยินเขาว่ามา


3. ระลึกไว้ว่าคนในครอบครัวไม่ใช่ที่ระบายอารมณ์


ไม่ว่าเราจะหงุดหงิดเรื่องงาน หัวร้อนเรื่องนอกบ้าน เราก็ไม่มีสิทธิไประเบิดอารมณ์ใส่คนในครอบครัว การกระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นบ่อเกิดของการอยู่อย่างหวาดระแวง เพราะฉะนั้นแล้ว เห็นแก่ความรักของคนในครอบครัว ที่มีให้เรา โปรดระลึกไว้ว่า “คนในครอบครัวไม่ใช่ที่ระบายอารมณ์” 


4. มีปัญหากันให้รีบพูด


หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว ก็คือ การสะสมความเครียด ความโกรธ ความไม่พอใจ ที่คนในครอบครัวมีต่อกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักสะสมมาจากเรื่องเล็ก ๆ เช่น คำพูดบางคำที่แทงใจ การกระทำบางอย่างที่ไม่คิดถึงความรู้สึกกัน แล้วก็มาระเบิดกับเรื่องเล็ก ๆ ได้เช่นเดียวกัน


5. หาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน


เมื่อมีปัญหาแล้วเราเปิดใจคุยกัน เราก็สามารถมองเห็นปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ ทั้งต้นเหตุของปัญหา การเกิดขึ้นของปัญหา ผลกระทบของปัญหา และเราจะสามารถมองไปถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมได้ในที่สุด


6. ใส่ใจความรู้สึกของกันและกัน


เมื่อความรุนแรงในครอบครัวเกิดมาจากการไม่ใส่ใจกัน เพราะฉะนั้นวิธีแก้ก็คือ การใส่ใจกันให้มากขึ้น เช่น ถามไถ่ควมรู้สึกกันบ้าง ถามสารทุกข์สุขดิบว่าในแต่ละวันเป็นอย่างไร ชีวิตสุขสบายดีไหม มีปัญหาอะไรหรือเปล่า เมื่อเราคุยกันมากขึ้น รู้จักกันมากขึ้นกว่าเดิม เราจะดูแลกันได้ดีขึ้น


ที่มาข้อมูล iSTRONG Mental health

ข่าวแนะนำ