TNN "งดเหล้าเข้าพรรษา" กุศโลบายให้คนห่างไกลแอลกอฮอล์ สู่การเลิกเหล้าในระยะยาว

TNN

Health

"งดเหล้าเข้าพรรษา" กุศโลบายให้คนห่างไกลแอลกอฮอล์ สู่การเลิกเหล้าในระยะยาว

 งดเหล้าเข้าพรรษา กุศโลบายให้คนห่างไกลแอลกอฮอล์ สู่การเลิกเหล้าในระยะยาว

แต่เด็กจนโตเรามักจะได้ยินการรณรงค์ "งดเหล้า เข้าพรรษา" รางดไปเพื่ออะไร แล้วมันได้ผลจริงหรือไม่?

แต่เด็กจนโตเรามักจะได้ยินการรณรงค์ "งดเหล้า เข้าพรรษา" ซึ่งจะวนมาในทุกปีก่อนเข้าสู่ช่วงเข้าพรรษา ทำไมต้องแค่ช่วงเข้าพรรษาเท่านั้นที่เราต้องงดเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรางดไปเพื่ออะไร แล้วมันได้ผลจริงหรือไม่?


--- กุศโลบาย "งดเหล้าเข้าพรรษา" ---


จริงๆ แล้วหากตั้งใจจะลดหรือเลิกเหล้าก็ไม่จำเป็นต้องรอถึงช่วงเข้าพรรษาก็ได้ แต่เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนา และกินระยะเวลานานกว่า 3 เดือน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับคนที่เริ่มอยากเปลี่ยนชีวิตตัวเอง และหันมาดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง


การเลิกดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยร่างกายและตับได้ฟื้นฟู ซึ่งตับเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่กำจัดของเสียออกจากร่างกาย แต่เซลล์ตับจะถูกทำลายเมื่อดื่มเหล้า ช่วงที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ เปรียบเสมือนการให้เวลาตับได้พักผ่อน 


การเลิกดื่มเหล้ายังช่วยลดโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ด้วย


--- ประโยชน์ของการเลิกดื่มเหล้า ---


รักษาสุขภาพ – ช่วงพักดื่ม พักตับ เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้น และให้ตับฟื้นฟู ซ่อมสร้างตัวเอง สร้างเซลล์ใหม่และกำจัดสารพิษจากร่างกาย


เงินเก็บเงินได้มากขึ้น  – การดื่มมีค่าใช้จ่ายสูง ไม่ว่าคุณจะชอบดื่มคนเดียวหรือดื่มกับเพื่อน การงดดื่มช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น


ปลอดภัย – การดื่มแอลกอฮอล์เป็นบ่อเกิดของอุบัติเหตุบนท้องถนน อันตรายต่อชีวิตทั้งของตัวเองและคนอื่น การงดดื่มลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดื่มแล้วขับ


--- "งดเหล้าเข้าพรรษา" ได้ผลจริงไหม? ---


สสส. ได้ผลสำรวจการรณรงค์ของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ปี 2565 พบว่า มีผู้ที่งดเหล้าตลอดครบพรรษา ร้อยละ 17.8 และงดเหล้าบางเวลาลดปริมาณการดื่ม ร้อยละ 19 รวมที่งดและลดการดื่ม ร้อยละ 36.8 ซึ่งมีจำนวน 9,383,490 คน 


การเริ่มต้นลดปริมาณการดื่มให้น้อยลง ทำให้ร่างกายค่อยๆ ฟื้นตัว เมื่องดดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษา 3 เดือนในทุกปี ก็สามารถต่อยอดไปสู่การงดดื่มตลอดชีวิต สร้างเสริมสุขภาพที่ดีในระยะยาว 


ที่มาข้อมูล: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ข่าวแนะนำ