หมอศิริราชเผยพบโรค "รองช้ำ" แบบภาคพิศดาร แนะวิธีแก้ให้ถูกจุด
หลายคน เคยเจ็บส้นเท้า เจ็บจนเดินไม่ไหว ลงน้ำหนักทีไร เจ็บที่ส้นเท้าทุกที เรียกอาการนี้ว่า “รองช้ำ” แต่ขณะนี้พบ โรครองช้ำภาคพิศดารที่มีสาเหตุต่างกัน
ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ให้ข้อมูลในเพจบักทึกน่ารู้ by Dr.Adune ถึง โรครองช้ำ ซึ่งบางตำรา ระบุว่าเกิดจากหินปูนไปเกาะเส้นเอ็นที่ส้นเท้า เรียกทางการแพทย์ว่า calcified planta fascia ... เป็นโรคทางการแพทย์ เรียกว่า plantar fasciitis หรือการอักเสบของ เอ็นฝ่าเท้า ... ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้ ว่า เกิดจากความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อที่ใช้จิกเท้าและกระดกเท้า (flexor and extensor of foot) เมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 2 กลุ่ม ไม่ประสานกัน แย่งกันทำงาน จะเกิดการดึงรั้งกันที่ไม่สมดุล สุดท้าย กรรมจึงตกอยู่ที่ส้นเท้า เพราะ กล้ามเนื้อ ทั้ง 2 ด้าน ออกแรง ชนกันที่ตรงจุดส้นเท้าพอดี ส้นเท้าจึงบาดเจ็บ และ เกิดอาการเจ็บทุกครั้ง ที่เดิน หรือ ลงน้ำหนัก ... กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ ที่ออกแรงดึง และ แข็งแรงมากกว่า และเป็นปัญหา คือ กล้ามเนื้อน่อง ที่เรียก gastrocnemius หรือที่เรารู้สึก เป็นตะคริวที่น่องกันบ่อยๆ ก็เป็นที่กล้ามเนื้อมัดนี้ครับ ..ดังนั้น วิธีรักษารองช้ำ คือ คลายกล้ามเนื้อ และ ฝึกให้กล้ามเนื้อที่จิกและกระดกเท้าทำงานประสานกัน โดยการกดที่กล้ามเนื้อน่องใกล้กับเข่า กระดก และ จิกเท้าสลับกันสักพัก จะดีขึ้น (หรือ อาจจะนวด หรือ ฝังเข็ม ตรงบริเวณดังกล่าว)
ที่เล่ามา เป็น รองช้ำ แบบที่พบกันบ่อยๆ ทั่วๆไปครับ ... แต่ มี รองช้ำอีกประเภทหนึ่ง ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ได้มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ gastrocnemius ที่เกร็งตัวหรือเป็นตะคริว แต่ เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กกว่า ที่ซ่อนอยู่ด้านใน ... กล้ามเนื้อ ชุดนี้ ก็ได้รับบาดเจ็บได้ จาก ท่าเดินหรือวิ่งที่ผิดท่า คือ มีการเกร็ง และ ปัดเท้าเข้าด้านในมากกว่าปกติ ... ตำแหน่ง รองช้ำของ กรณีนี้ จะเจ็บที่ส้นเท้าเหมือนกัน เป็นมากเวลาลงน้ำหนักเหมือนกัน แต่ว่า ตำแหน่งจะอยู่ ค่อนมาใต้ ตาตุ่มด้านใน อยู่ด้านหน้ากว่า และ สูงกว่า รองช้ำปกติเล็กน้อย ... กรณีนี้ เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ Tibialis Posterior ซึ่งไขว้ทับซ้อนกับ กล้ามเนื้อที่จิกนิ้วเท้า และ นิ้วหัวแม่เท้า ลงล่าง (ไม่ใช่จิกข้อเท้า เหมือนรองช้ำปกติ) กล้ามเนื้อเมื่อบาดเจ็บ และ ตึงไม่ยอมคลายตัว จะเกิดการเสียดสีกัน และ ดึงให้จุดที่กล้ามเนื้อเกาะอยู่ที่กระดูก เกิดอาการเจ็บ แบบ รองช้ำเหมือนกัน ผม เลยเรียกว่า รองช้ำภาคพิสดาร ครับ ... การแก้ไข ใช้ หลักการเดียวกันครับ คือ คลายกล้ามเนื้อพร้อมกับ ขยับจิกนิ้วเท้า สลับกับกระดกนิ้วเท้า จุดทีกด หรือ ฝังเข็ม คือ จุดกลางน่อง และ ขาด้านใน เหนือตาตุ่มครับ
-การกด หรือ นวดตรงจุดที่เจ็บ จะไม่หายนะครับ เพราะ ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ จนบางครั้ง อาจจะได้รับการฉีดยา steroid ซึ่ง ช่วยให้ลดการอักเสบยุบบวมได้จริงครับ แต่ถ้า เกิดการสู้กัน ของกล้ามเนื้อ เสียสมดุล ก็กลับมาเป็นใหม่ครับ
ที่มา-ภาพ : FB บักทึกน่ารู้ by Dr.Adune
ข่าวแนะนำ