อาการแพ้ยา ร้ายแรงแค่ไหน? ชวนสังเกตภาวะเสี่ยงจากการแพ้ยา
อาการแพ้ยา ร้ายแรงแค่ไหน? ระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอาการแพ้ยา
อาการแพ้ยา เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันที่เป็นอันตรายต่อชีวิต และแบบไม่เฉียบพลัน ซึ่งอาการแพ้แบบรุนแรง มักแสดงอาการหลายระบบร่วมกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
อาการต่อไปนี้ชวนสงสัยได้ว่า อาจแพ้ยาแบบเฉียบพลันรุนแรง
- ผื่นลมพิษทั่วตัว
- ตาบวม ปากบวม
- หอบเหนื่อยขึ้นทันที กรณีอาการรุนแรงมากอาจมีเสียงวี้ด (Wheezing)
- ความดันโลหิตต่ำอย่างมีนัยสำคัญ
อาการต่อไปนี้ชวนสงสัยได้ว่า อาจแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันรุนแรง
- ผื่นที่ผิวหนังรุนแรง เกิดตุ่มพอง ผิวหนังลอก
- แผลในปาก เจ็บแสบตา ตาแดง
- ไข้สูง ตาเหลือง
- ยากันชัก ยารักษาโรคเก๊าต์ (ยาลดกรดยูริก) ทำให้เกิดอาการแพ้ไม่เฉียบพลันแต่รุนแรง
- ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ “ที่พบบ่อย” เช่น ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมักทำให้เกิดอาการแพ้เฉียบพลัน
ทำอย่างไรหากสงสัยว่าแพ้ยา
- หากสงสัยว่าตนเองมีอาการแพ้ยา ควรหยุดการใช้ยาโดยทันที
- นำยาที่ใช้ทั้งหมด พร้อมฉลาก และชื่อยามาพบแพทย์ด้านภูมิแพ้
- ถ่ายภาพอาการที่เกิดขึ้นเพื่อประกอบการวินิจฉัย และป้องกันภาวะแพ้ยาซ้ำ ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรวดเร็ว และรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
หากมีอาการแพ้ดังกล่าว และมีอาการรุนแรง ควร โทร. 1669 เรียกรถพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษาทันที
ขอบคุณข้อมูล : รศ.นพ.เจตทะนง แกล้วสงคราม ฝ่ายอายุรศาสตร์
และ ภญ.พิมพ์ปรียา ขจรชัยกุล กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ข่าวแนะนำ