รู้จัก "โรคขาดสารอาหาร" กับ 15 อาการแสดงออกว่าร่างกายกำลังไม่ไหว
ร่างกายขาดสารอาหารและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น อ่อนเพลีย ผิวหนังมีลักษณะผิดปกติ กระดูกหยุดเจริญเติบโต หรือมีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่ง โรคขาดสารอาหาร มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที อาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการหลักๆของโรคขาดสารอาหาร
1. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
6. มีความอยากอาหารที่ผิดปกติ
7. มีปัญหาในการย่อยอาหาร ซึ่งอาจทำให้ท้องผูก
9. รู้สึกเสียวหรือชาที่ข้อต่อ
10. ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย
15. ผู้ป่วยเด็กอาจเจริญเติบโตช้า หรือมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์
สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร
-ปัญหาทางจิตใจ อาจส่งผลต่ออารมณ์และทำให้ความอยากอาหารลดลง
-อาการป่วยที่อาจทำให้ความอยากอาหารลดลง เช่น อาเจียน ท้องเสีย
โรคหรือภาวะที่ส่งผลต่อการดูดซึมและการย่อยอาหารของร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดธาตุบางชนิด เช่น โรคมะเร็งลำไส้ โรคเซลิแอค ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล โรคโครห์น หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดมีแผล เป็นต้น
การใช้ยาบางชนิด ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย หรืออาเจียน เป็นต้น จึงทำให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารลดลง หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
การป้องกันโรคขาดสารอาหาร
วิธีที่ดีที่สุดที่สามารถช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารได้ คือ การรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วนและครบถ้วนตามหลักโภชนาการ โดยเน้นอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงอย่างผัก ผลไม้ หรือธัญพืชไม่ขัดสี และรับประทานอาหารจำพวกแป้งให้เพียงพอ เช่น ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง เป็นต้น รวมถึงเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
ขอบคุณบทความ: รพ.จุฬารัตน์9 แอร์พอร์ต